ผลกระทบต่อธุรกิจและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
บริษัทมุ่งมั่นที่จะพัฒนาห่วงโซ่อุปทานและกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ที่คำนึงถึงประเด็นความเสี่ยง
ด้านความยั่งยืน เช่น การละเมิดสิทธิมนุษยชน การทำผิดจรรยาบรรณทางธุรกิจ และผลกระทบต่อ
สิ่งแวดล้อม เป็นต้น เพื่อให้บริษัทสามารถระบุคู่ค้าที่มีความเสี่ยงสูงและดำเนินการแก้ไขปรับปรุงได้อย่างเหมาะสม โดยจะช่วยป้องกันความเสี่ยงดังกล่าวไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการให้บริการของบริษัทและต่อผู้มีส่วนได้เสีย รวมทั้งเสริมสร้างการมีส่วนร่วมกับคู่ค้าและพันธมิตรทางธุรกิจในการรักษาสินค้าและบริการให้เป็นไปตามมาตรฐานด้านคุณภาพและความความยั่งยืน พร้อมกับการรักษาสัมพันธภาพที่ดีในระยะยาว
แนวทางการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน
ความมุ่งมั่น ความท้าทาย และโอกาส
เพื่อสร้างความมั่นใจและสามารถตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย บริษัทจึงกำหนดกลยุทธ์การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานและส่งเสริมความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทาน เพื่อให้บริษัทสามารถส่งมอบบริการที่มีคุณภาพ รวดเร็ว และต่อเนื่องตามความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย
กลยุทธ์การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน
ปรับปรุงและพัฒนากระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน
ให้สนับสนุนการดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน
และให้ความสำคัญกับการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
เพื่อตอบสนองความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย
เพื่อสร้างความมั่นใจและสามารถตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย บริษัทจึงกำหนดกลยุทธ์การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานและส่งเสริมความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทาน เพื่อให้บริษัทสามารถส่งมอบบริการที่มีคุณภาพ รวดเร็ว และต่อเนื่องตามความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย
กลยุทธ์การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน
ปรับปรุงและพัฒนากระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน
ให้สนับสนุนการดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน
และให้ความสำคัญกับการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
เพื่อตอบสนองความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย
กรอบการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน
การคัดกรองและขึ้นทะเบียนคู่ค้า
(Supplier Screening and Registration)
(Supplier Screening and Registration)
- ลงทะเบียนออนไลน์
- รับทราบจรรยาบรรณบริษัท และจรรยาบรรณธุรกิจสำหรับ
คู่ค้า - ตอบแบบประเมินตนเอง (Self-Assessment) และผ่านเกณฑ์
ด้านความยั่งยืน
การจำแนกคู่ค้า
(Supplier Identification)
(Supplier Identification)
- พิจารณาค่าใช้จ่ายคู่ค้า (Spending Analysis)
- พิจารณาความสำคัญของคู่ค้าที่มีต่อบริษัท (Significant Supplier Identification)
- ความเสี่ยงทางภูมิศาสตร์ (Geographic Risks)
การประเมินการดำเนินงานคู่ค้า
(Supplier Assessment)
(Supplier Assessment)
- ประเมินการดำเนินงานครอบคลุมด้าน ESG ดังนี้
- Desktop Assessment
- Self-Assessment
- Onsite Assessment
- Significant Tier-1 Suppliers Risk Assessment
- Supplier Evaluation
การพัฒนาศักยภาพของคู่ค้า
(Supplier Development)
(Supplier Development)
- การฝึกอบรมด้านความปลอดภัยในการทำงานให้คู่ค้า
- โครงการ Contractor Scorecard
- โครงการจัดประชุมคู่ค้าเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
จรรยาบรรณธุรกิจสำหรับคู่ค้า
ด้านสิ่งแวดล้อม
- การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม (Environment Management)
- การใช้ทรัพยากรและพลังงาน (Use of Resources and Energy) ต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม / ช่วยลดก๊าซเรือนกระจก การนำกลับมาใช้ใหม่ รวมถึงการกำจัดของเสียอย่างมีประสิทธิภาพ
- การจัดการของเสีย สารเคมี และวัตถุอันตราย (Waste, Chemicals and Hazardous Substances)
ด้านสังคม สิทธิมนุษยชน และ แรงงาน
- อาชีวอนามัยและความปลอดภัย (Occupational Health and Safety)
- การป้องกันเตรียมตัวและตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉิน (Emergency Prevention, Preparedness and Response)
- การปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน (Compliance with Labor Protection Laws)
- การปฏิบัติอย่างเท่าเทียบ (Equitable Treatment)
- เงื่อนไขและสภาพแวดล้อมการทำงาน (Employment Conditions)
- การมีส่วนร่วมต่อชุมชน (Community Engagement)
ด้านจริยธรรมทางธุรกิจ
- การส่งมอบสินค้าและบริการ (Delivery of Goods and Services)
- การปฏิบัติตามข้อบังคับ (Compliance)
- คอร์รัปชัน และการติดสินบน (Corruption and Bribery)
- ของรางวัลและของขวัญ (Reward and Gifts)
- ผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of Interest)
- การรักษาความลับทางการค้า (Commercial Confidentiality)
- การเปิดเผยข้อมูล (Disclosure)
- สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property Rights)
แผนการดำเนินงาน
บริษัทมีการกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติ รวมถึงแผนบริหารห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน เพื่อให้การดำเนินงานจัดซื้อจัดจ้างบรรลุเป้าหมายการดำเนินงานทั้งระยะสั้นและระยะยาว มุ่งเน้นให้เห็นถึงความสำคัญของการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน จัดให้บุคลากรของฝ่ายจัดซื้อเข้ารับการฝึกอบรม เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้ปฏิบัติงานให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้
พื้นฐานด้านความยั่งยืนของธุรกิจและการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน และสามารถนำหลักการและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมถึงกำหนดแผนการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับกรอบการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน ได้แก่ การคัดกรองและขึ้นทะเบียนคู่ค้า การจำแนกคู่ค้า การประเมินการดำเนินงานคู่ค้า และการพัฒนาศักยภาพคู่ค้า โดยมีรายละเอียดของการดำเนินงาน ดังนี้
พื้นฐานด้านความยั่งยืนของธุรกิจและการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน และสามารถนำหลักการและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมถึงกำหนดแผนการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับกรอบการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน ได้แก่ การคัดกรองและขึ้นทะเบียนคู่ค้า การจำแนกคู่ค้า การประเมินการดำเนินงานคู่ค้า และการพัฒนาศักยภาพคู่ค้า โดยมีรายละเอียดของการดำเนินงาน ดังนี้
การดำเนินงานปี 2566
- จัดให้เจ้าหน้าที่จัดซื้อได้เข้ารับการฝึกอบรมเกี่ยวกับพื้นฐานความยั่งยืนของธุรกิจและการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้ปฏิบัติงานให้มีความรู้ความเข้าใจและสามารถนำความรู้ไปปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- กำหนดจรรยาบรรณธุรกิจสำหรับคู่ค้าและสื่อสารให้คู่ค้ารับทราบ
- ให้คู่ค้ารายใหม่ทุกรายได้รับทราบและปฏิบัติตามจรรยาบรรณธุรกิจสำหรับคู่ค้า
- คัดกรองคู่ค้ารายใหม่ตามเกณฑ์การประเมินด้านความยั่งยืน ด้วยแบบประเมินตนเอง (Self-Assessment)
- ตรวจประเมินเชิงวิเคราะห์เอกสาร (Desktop Assessment)
- กำหนดหลักเกณฑ์จำแนกคู่ค้าและรอบการทบทวน
- ประเมินความเสี่ยงด้านความยั่งยืน (ESG Risk) ของคู่ค้าด้วยแบบประเมินตนเอง (Self-Assessment)
- ตรวจเยี่ยม ณ สถานประกอบการของคู่ค้าสำคัญลำดับ 1 (Onsite Assessment)
- จัดหลักสูตรอบรมให้คู่ค้าที่ต้องเข้ามาปฏิบัติงานในพื้นที่ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องตามกฎระเบียบและข้อบังคับ ปลอดภัย และสามารถตอบสนองต่อเหตุการณ์ฉุกเฉินได้อย่างเหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงในการปฏิบัติงานของคู่ค้าที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุและความสูญเสีย
- โครงการ Contractor Scorecard เพื่อพัฒนาศักยภาพของคู่ค้า (ต่อเนื่อง)
- สำรวจความพึงพอใจและความคาดหวังของคู่ค้า (ต่อเนื่อง)
- ประเมินผลปฏิบัติงานของคู่ค้า (Supplier Evaluation) (ต่อเนื่อง)
- โครงการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว (Green Procurement) (ต่อเนื่อง)
- เชิญชวนคู่ค้าเข้าร่วมภาคีเครือข่าย แนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (Thai Private Sector Collective Action Against Corruption หรือ CAC)
แผนดำเนินการสำคัญใน ปี 2567
- สร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานของบุคลากรของฝ่ายจัดซื้อและคู่ค้า (ต่อเนื่อง)
- คู่ค้ารายใหม่ทุกรายได้รับทราบและปฏิบัติตามจรรยาบรรณธุรกิจสำหรับคู่ค้า (ต่อเนื่อง)
- การคัดกรองคู่ค้ารายใหม่ตามเกณฑ์การประเมินด้านความยั่งยืน ด้วยแบบประเมินตนเอง (Self-Assessment) (ต่อเนื่อง)
- ประเมินความเสี่ยงด้านความยั่งยืน (ESG Risk) ของคู่ค้าด้วยแบบประเมินตนเอง (Self-Assessment) (ต่อเนื่อง)
- ตรวจเยี่ยม ณ สถานประกอบการของคู่ค้าสำคัญลำดับ 1 (Onsite Assessment) (ต่อเนื่อง)
- จัดฝึกอบรมคู่ค้าที่ต้องเข้ามาปฏิบัติงานในพื้นที่ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องตามกฎระเบียบและข้อบังคับ ปลอดภัย และสามารถตอบสนองต่อเหตุการณ์ฉุกเฉินได้อย่างเหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงในการปฏิบัติงานของคู่ค้าที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุและความสูญเสีย
- จัดโครงการเพื่อสนับสนุนการมีส่วนร่วม เพิ่มความตระหนัก และสร้างแรงจูงใจในการพัฒนาศักยภาพให้กับคู่ค้า
- การสำรวจความพึงพอใจและความคาดหวังของคู่ค้า (ต่อเนื่อง)
- การประเมินผลการดำเนินงานคู่ค้า (ต่อเนื่อง)
- ทบทวนเกณฑ์การจำแนกคู่ค้าและเกณฑ์การพิจารณาความสำคัญ
- ปรับปรุง Website เพื่อเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management)
- จัดประชุมอบรมให้ความรู้คู่ค้าเกี่ยวกับแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน และเน้นย้ำจรรยาบรรณธุรกิจสำหรับคู่ค้า เพื่อให้คู่ค้านำไปเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจร่วมกับ BEM
- จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึง ESG แก่คู่ค้าอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี
แผนดำเนินการปี 2573
- ร้อยละ 100 ของคู่ค้ารายใหม่รับทราบและปฏิบัติตามจรรยาบรรณธุรกิจสำหรับคู่ค้า
- ร้อยละ 100 ของคู่ค้ารายใหม่ผ่านการคัดกรองตามเกณฑ์ด้านความยั่งยืน (ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสังคม สิทธิมนุษยชนและแรงงาน และด้านจริยธรรมทางธุรกิจ)
- ร้อยละ 100 ของคู่ค้าสำคัญลำดับ 1 (Significant Tier-1 Suppliers) ได้รับการประเมินด้านความยั่งยืน โดยการประเมินตนเอง (Self-Assessment)
- ร้อยละ 100 ของคู่ค้าลำดับ 1 (Tier-1 Suppliers) ได้รับการประเมินด้านความยั่งยืน โดยการประเมินตนเอง (Self-Assessment)
ผลการดำเนินงานปี 2566
ผลการดำเนินงานที่โดดเด่น ปี 2566
ร้อยละ 100 ของคู่ค้าสำคัญลำดับ 1
ได้รับการประเมินความเสี่ยงด้านความยั่งยืน
ได้รับการประเมินความเสี่ยงด้านความยั่งยืน
ร้อยละ 100 ของคู่ค้ารายใหม่รับทราบ
และปฏิบัติตามจรรยาบรรณธุรกิจสำหรับคู่ค้า
และปฏิบัติตามจรรยาบรรณธุรกิจสำหรับคู่ค้า
เป้าหมายและดัชนีชี้วัดผลการดำเนินการของบริษัท
ร้อยละ 100
ของคู่ค้ารายใหม่รับทราบและปฏิบัติตามจรรยาบรรณธุรกิจสำหรับคู่ค้าได้
ร้อยละ 100
ของคู่ค้ารายใหม่ที่ได้ผ่านการคัดกรองตามเกณฑ์ด้านยั่งยืน (ด้านสิ่งแวดล้อม
ด้านสังคม สิทธิมนุษยชนและแรงงาน และด้านจริยธรรมทางธุรกิจ)
ร้อยละ 100
ของคู่ค้าสำคัญลำดับ 1 (Significant Tier-1 Suppliers) ได้รับการประเมิน
ด้านความยั่งยืน ผ่านการประเมินตนเอง (Self-Assessment)
ร้อยละ 59.21
ของคู่ค้าลำดับ 1 (Tier-1 Suppliers) ได้รับการประเมินด้านความยั่งยืน
โดยผ่านการประเมินตนเอง
การคัดกรองและขึ้นทะเบียนคู่ค้า
กระบวนการบริหารจัดการคู่ค้าของบริษัทเริ่มจากการประเมินความเสี่ยงด้านความยั่งยืนในการขึ้นทะเบียนคัดกรองคู่ค้า โดยคู่ค้าจะต้องลงทะเบียนออนไลน์ รับทราบ
จรรยาบรรณบริษัท (Code of Conduct) จรรยาบรรณธุรกิจสำหรับคู่ค้า (Supplier Code of Conduct) และตอบแบบประเมินตนเอง (Self-Assessment) ซึ่งครอบคลุมคุณสมบัติ เกี่ยวกับผลการดำเนินงานและความเสี่ยงด้านความยั่งยืน และศักยภาพทางด้านธุรกิจ เช่น ด้านการดำเนินงาน ด้านสินค้าและบริการ ด้านราคา ด้านการส่งมอบสินค้าและบริการ เป็นต้น โดยกำหนดให้คู่ค้ารายใหม่ต้องได้คะแนนโดยรวมจากการประเมินตนเองอย่างน้อยร้อยละ 65 จึงจะสามารถได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นคู่ค้าของบริษัท (Approved Vendor List: AVL)
กระบวนการบริหารจัดการคู่ค้าของบริษัทเริ่มจากการประเมินความเสี่ยงด้านความยั่งยืนในการขึ้นทะเบียนคัดกรองคู่ค้า โดยคู่ค้าจะต้องลงทะเบียนออนไลน์ รับทราบ
จรรยาบรรณบริษัท (Code of Conduct) จรรยาบรรณธุรกิจสำหรับคู่ค้า (Supplier Code of Conduct) และตอบแบบประเมินตนเอง (Self-Assessment) ซึ่งครอบคลุมคุณสมบัติ เกี่ยวกับผลการดำเนินงานและความเสี่ยงด้านความยั่งยืน และศักยภาพทางด้านธุรกิจ เช่น ด้านการดำเนินงาน ด้านสินค้าและบริการ ด้านราคา ด้านการส่งมอบสินค้าและบริการ เป็นต้น โดยกำหนดให้คู่ค้ารายใหม่ต้องได้คะแนนโดยรวมจากการประเมินตนเองอย่างน้อยร้อยละ 65 จึงจะสามารถได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นคู่ค้าของบริษัท (Approved Vendor List: AVL)
การจำแนกคู่ค้า
บริษัทจำแนกคู่ค้าตามระดับความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ และความเสี่ยงทางภูมิศาสตร์ โดยแบ่งคู่ค้าเป็น 3 ประเภท ได้แก่ คู่ค้าสำคัญลำดับ 1 (Significant Tier-1 Suppliers) คู่ค้าลำดับ 1 ทั่วไป (Non-Significant Tier-1 Suppliers) และคู่ค้าสำคัญที่ไม่ได้ทำธุรกิจกับบริษัทโดยตรง (Significant Non-Tier-1 Suppliers)
คู่ค้าประเภทที่สำคัญมากที่สุด คือ คู่ค้าสำคัญลำดับ 1 ซึ่งพิจารณาจากเกณฑ์ ปริมาณการซื้อขายกับบริษัทที่มีมูลค่าสูง ความเชี่ยวชาญ ความร่วมมือต่อกระบวนการทางธุรกิจที่สำคัญ ความสัมพันธ์เชิงกลยุทธ์ และความเสี่ยงทางภูมิศาสตร์ โดยการจำแนกคู่ค้าถูกจัดทำขึ้นทุก 3 ปี
บริษัทจำแนกคู่ค้าตามระดับความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ และความเสี่ยงทางภูมิศาสตร์ โดยแบ่งคู่ค้าเป็น 3 ประเภท ได้แก่ คู่ค้าสำคัญลำดับ 1 (Significant Tier-1 Suppliers) คู่ค้าลำดับ 1 ทั่วไป (Non-Significant Tier-1 Suppliers) และคู่ค้าสำคัญที่ไม่ได้ทำธุรกิจกับบริษัทโดยตรง (Significant Non-Tier-1 Suppliers)
คู่ค้าประเภทที่สำคัญมากที่สุด คือ คู่ค้าสำคัญลำดับ 1 ซึ่งพิจารณาจากเกณฑ์ ปริมาณการซื้อขายกับบริษัทที่มีมูลค่าสูง ความเชี่ยวชาญ ความร่วมมือต่อกระบวนการทางธุรกิจที่สำคัญ ความสัมพันธ์เชิงกลยุทธ์ และความเสี่ยงทางภูมิศาสตร์ โดยการจำแนกคู่ค้าถูกจัดทำขึ้นทุก 3 ปี
การประเมินการดำเนินงานคู่ค้า (Supplier Assessment)
บริษัทมีการประเมินคู่ค้าเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มั่นใจว่ากระบวนการทำงานของคู่ค้าปฏิบัติตามนโยบายการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน และจรรยาบรรณธุรกิจสำหรับคู่ค้าอย่างเคร่งครัด โดยมีแนวทางในการประเมินคู่ค้าดังนี้
บริษัทมีการประเมินคู่ค้าเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มั่นใจว่ากระบวนการทำงานของคู่ค้าปฏิบัติตามนโยบายการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน และจรรยาบรรณธุรกิจสำหรับคู่ค้าอย่างเคร่งครัด โดยมีแนวทางในการประเมินคู่ค้าดังนี้
การตรวจประเมินเชิงวิเคราะห์เอกสาร (Desktop Assessment)
บริษัทมีการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของคู่ค้า และการบริหารจัดการที่คำนึงถึงผลกระทบด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย รวมถึงคุณภาพของสินค้าและบริการก่อนการอนุมัติขึ้นทะเบียนเป็นคู่ค้ากับบริษัท โดยการตรวจสอบข้อมูลและเอกสาร ได้แก่ หนังสือรับรองการจดทะเบียนพาณิชย์ ภ.พ.20 ใบรับรองมาตรฐาน ISO 9001, ISO 14001, ISO 17001, ISO 45001 และ ISO 50001 เป็นต้น
การประเมินความเสี่ยงด้านความยั่งยืนด้วยแบบประเมินตนเอง (Self-Assessment)
บริษัทกำหนดให้คู่ค้ารายใหม่ต้องทำแบบประเมินตนเอง (Self-Assessment) เพื่อประเมินด้านสินค้าและบริการ และประเมินด้านความยั่งยืนทั้ง 3 มิติ (ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสังคม สิทธิมนุษยชนและแรงงาน และด้านจริยธรรมทางธุรกิจ) โดยกำหนดให้คู่ค้าที่จะขึ้นทะเบียนกับบริษัทต้องผ่านเกณฑ์การคัดกรองตามเกณฑ์ความยั่งยืนที่ร้อยละ 65 จึงจะสามารถได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นคู่ค้าของบริษัท (Approved Vendor List: AVL)
ทั้งนี้บริษัทยังกำหนดให้คู่ค้าเดิมทำการประเมินความเสี่ยงด้านความยั่งยืนด้วยแบบประเมินตนเอง (Self-Assessment) เพื่อให้มั่นใจว่า คู่ค้ามีการดำเนินงานที่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในจรรยาบรรณธุรกิจสำหรับคู่ค้า โดยมีเป้าหมายในปี 2573 ให้คู่ค้าสำคัญลำดับ 1 (Significant Tier-1 Suppliers) ผ่านการคัดกรองตามเกณฑ์ด้านความยั่งยืน (ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสังคม สิทธิมนุษยชนและแรงงาน และด้านจริยธรรมทางธุรกิจ) ร้อยละ 100
ทั้งนี้บริษัทยังกำหนดให้คู่ค้าเดิมทำการประเมินความเสี่ยงด้านความยั่งยืนด้วยแบบประเมินตนเอง (Self-Assessment) เพื่อให้มั่นใจว่า คู่ค้ามีการดำเนินงานที่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในจรรยาบรรณธุรกิจสำหรับคู่ค้า โดยมีเป้าหมายในปี 2573 ให้คู่ค้าสำคัญลำดับ 1 (Significant Tier-1 Suppliers) ผ่านการคัดกรองตามเกณฑ์ด้านความยั่งยืน (ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสังคม สิทธิมนุษยชนและแรงงาน และด้านจริยธรรมทางธุรกิจ) ร้อยละ 100
การประเมินด้วยการตรวจเยี่ยม ณ สถานประกอบการของคู่ค้า (Onsite Assessment)
บริษัทมีแผนการจัดการตรวจเยี่ยมและประเมินความเสี่ยง ณ สถานประกอบการของคู่ค้าสำคัญลำดับ 1 (Significant Tier-1 Suppliers) โดยพนักงานของบริษัท (Onsite Assessment) ทั้งนี้กำหนดแผนการทบทวนรายชื่อคู่ค้าสำคัญลำดับ 1 และให้คู่ค้าทำแบบประเมินตนเอง (Self-Assessment) ซ้ำ ทุก 3 ปี
โดยผลการประเมิน Self-Assessment ไม่พบคู่ค้าสำคัญลำดับ 1 ที่มีความเสี่ยงด้านความยั่งยืนสูง แต่เพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีจึงมีแผนการเข้าตรวจเยี่ยมและประเมินความเสี่ยงด้านความยั่งยืน ณ สถานประกอบการของคู่ค้า (Onsite Assessment) หรือปรับใช้วิธีตรวจประเมินรูปแบบ Online ตามความเหมาะสมให้ครบทุกรายภายในปี 2568
โดยผลการประเมิน Self-Assessment ไม่พบคู่ค้าสำคัญลำดับ 1 ที่มีความเสี่ยงด้านความยั่งยืนสูง แต่เพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีจึงมีแผนการเข้าตรวจเยี่ยมและประเมินความเสี่ยงด้านความยั่งยืน ณ สถานประกอบการของคู่ค้า (Onsite Assessment) หรือปรับใช้วิธีตรวจประเมินรูปแบบ Online ตามความเหมาะสมให้ครบทุกรายภายในปี 2568
การประเมินความเสี่ยงคู่ค้าสำคัญลำดับ 1 (Significant Tier-1 Suppliers Risk Assessment)
บริษัทมีกระบวนการประเมินความเสี่ยงของคู่ค้าสำคัญลำดับ 1 (Significant Tier-1 Suppliers Risk Assessment) ที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจขององค์กร ภายใต้เกณฑ์การประเมินความเสี่ยงที่บริษัทได้กำหนดไว้ ได้แก่ ระดับโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง (Likelihood) ระดับความรุนแรงของผลกระทบ (Impact) ในประเด็นต่างๆ
ด้านความยั่งยืน ทั้งในมิติบรรษัทภิบาลและเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ครอบคลุมประเด็นจริยธรรมทางธุรกิจ การปฏิบัติด้านแรงงานและสิทธิมนุษยชน ความปลอดภัยและอาชีวอนามัย การจัดการสิ่งแวดล้อม และความรับผิดชอบต่อชุมชนและสังคมตามประเภทของคู่ค้า โดยกำหนดระดับความเสี่ยงไว้ 4 ระดับ
ด้านความยั่งยืน ทั้งในมิติบรรษัทภิบาลและเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ครอบคลุมประเด็นจริยธรรมทางธุรกิจ การปฏิบัติด้านแรงงานและสิทธิมนุษยชน ความปลอดภัยและอาชีวอนามัย การจัดการสิ่งแวดล้อม และความรับผิดชอบต่อชุมชนและสังคมตามประเภทของคู่ค้า โดยกำหนดระดับความเสี่ยงไว้ 4 ระดับ
การประเมินผลการปฏิบัติงานของคู่ค้าเพื่อสะท้อนถึงประสิทธิภาพ คุณภาพสินค้า/บริการ การส่งมอบ ตลอดจนการตอบสนองความต้องการ การแก้ไขปัญหาและ
ข้อร้องเรียน (ถ้ามี) ของคู่ค้า ซึ่งมีหน่วยงานผู้ขอซื้อขอจ้างและหน่วยงานจัดซื้อ เป็นผู้ประเมินร่วมกัน โดยมีผลการประเมินการปฏิบัติงานของคู่ค้าปี 2566 ดังนี้
ข้อร้องเรียน (ถ้ามี) ของคู่ค้า ซึ่งมีหน่วยงานผู้ขอซื้อขอจ้างและหน่วยงานจัดซื้อ เป็นผู้ประเมินร่วมกัน โดยมีผลการประเมินการปฏิบัติงานของคู่ค้าปี 2566 ดังนี้
ผลการประเมิน (เกรด) | ระดับประสิทธิภาพของบริษัทคู่ค้า | สัดส่วนคู่ค้าที่ได้รับการประเมิน |
---|---|---|
A : มากกว่าหรือเท่ากับ 90 % | ดีมาก | 60.30 % |
B : 80 % - 89 % | ดี | 36.47 % |
C : 65 % - 79 % | มาตรฐาน | 03.10 % |
D : 50 % - 64 % | ปรับปรุง | 00.13 % |
E : ต่ำกว่า 50 % | ไม่ผ่านเกณฑ์ | 00.00 % |
สำหรับคู่ค้าที่ได้รับข้อร้องเรียนจากการดำเนินงาน หรือมีผลการประเมินที่ไม่ผ่านเกณฑ์ที่คะแนนต่ำกว่าร้อยละ 50 บริษัทจะดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงอย่างละเอียด
และหารือกับคู่ค้าเพื่อร่วมกันวางแผนแก้ไข (Corrective Action Plan) โดยคู่ค้าจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 90 วัน ก่อนที่จะรับการประเมินโดยบริษัทอีกครั้ง ทั้งนี้บริษัทจะถอดถอนคู่ค้าออกจากทะเบียนคู่ค้าหากไม่สามารถดำเนินการแก้ไขข้อร้องเรียนหรือข้อบกพร่องได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งในปี 2566 ไม่พบคู่ค้ารายใดไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินหรือมีการถอดถอนออกจากทะเบียนคู่ค้า
และหารือกับคู่ค้าเพื่อร่วมกันวางแผนแก้ไข (Corrective Action Plan) โดยคู่ค้าจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 90 วัน ก่อนที่จะรับการประเมินโดยบริษัทอีกครั้ง ทั้งนี้บริษัทจะถอดถอนคู่ค้าออกจากทะเบียนคู่ค้าหากไม่สามารถดำเนินการแก้ไขข้อร้องเรียนหรือข้อบกพร่องได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งในปี 2566 ไม่พบคู่ค้ารายใดไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินหรือมีการถอดถอนออกจากทะเบียนคู่ค้า
การเสริมสร้างความสัมพันธ์กับคู่ค้า
กิจกรรมการอบรมให้ความรู้ให้กับคู่ค้า
บริษัทจัดการฝึกอบรมคู่ค้าที่ต้องเข้ามาปฏิบัติงานในพื้นที่เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องตามกฎระเบียบและข้อบังคับ ปลอดภัย และสามารถตอบสนองต่อ
เหตุการณ์ฉุกเฉินได้อย่างเหมาะสม หลักสูตรของการฝึกอบรมมุ่งเน้นการตรวจสอบความพร้อมอุปกรณ์และความปลอดภัยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์เพื่อลดความเสี่ยงในการ
ปฏิบัติงานของคู่ค้าที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุ และความสูญเสีย และพัฒนาทักษะบุคลากรระดับผู้ควบคุมงานของคู่ค้าให้ทราบเทคนิคการเป็นผู้ฝึกสอน และสามารถถ่ายทอด
ความรู้ให้ทีมงานของคู่ค้าได้ รวมถึงมีการฝึกอบรมทบทวนความรู้อย่างต่อเนื่อง บริษัทกำหนดให้ผู้รับเหมาที่ต้องเข้ามาปฏิบัติงาน หรือให้บริการ หรือทำการซ่อมบำรุงใน
พื้นที่ต้องเข้ารับการฝึกอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานร้อยละ 100 และสอบผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 เฉพาะในหลักสูตรที่สำคัญ โดยในปี 2566 มีการจัดอบรม
รวม 25 หลักสูตร มีบริษัทคู่ค้าที่รับการฝึกอบรมจำนวน 42 ราย คิดเป็นผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมจำนวน 1,343 คน
โครงการ Suggest For Success Contractor
โครงการ Suggest for Success Contractor มีจุดประสงค์ในการส่งเสริมให้ผู้รับเหมาแจ้งและเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาด้านความปลอดภัยที่พบเจอในระหว่างทำงาน โดยสามารถทำได้ผ่านช่องทางออนไลน์ ข้อเสนอแนะจะถูกประเมินโดยคณะกรรมการตัดสินตามเกณฑ์ความคิดสร้างสรรค์และความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติจริง ข้อเสนอแนะที่ผ่านเกณฑ์จะถูกส่งต่อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อไป ผ่านการร่วมมือของผู้รับเหมา บริษัทจะสามารถปรับปรุงความปลอดภัยของกระบวนการทำงานและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ลดการเกิดอุบัติเหตุและลดต้นทุนและความล่าช้าในการดำเนินธุรกิจจากการบาดเจ็บ ทั้งนี้ ได้มีการรายงานผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะต่อที่ประชุมคณะอนุกรรมการความปลอดภัยของผู้รับเหมาในแต่ละเดือน เพื่อให้มั่นใจว่าข้อเสนอแนะที่ผ่านเกณฑ์จะถูกนำไปปฏิบัติเพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง ในปี 2566 มีจำนวนข้อเสนอแนะที่ผู้รับเหมาส่งเข้ามาทั้งหมด จำนวน 12 ข้อ ได้รับการพิจารณาเพื่อนำไปแก้ไข 9 ข้อ ซึ่งได้ดำเนินการแก้ไขปรับปรุงเรียบร้อยแล้วจำนวน 3 ข้อ
โครงการ Suggest for Success Contractor มีจุดประสงค์ในการส่งเสริมให้ผู้รับเหมาแจ้งและเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาด้านความปลอดภัยที่พบเจอในระหว่างทำงาน โดยสามารถทำได้ผ่านช่องทางออนไลน์ ข้อเสนอแนะจะถูกประเมินโดยคณะกรรมการตัดสินตามเกณฑ์ความคิดสร้างสรรค์และความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติจริง ข้อเสนอแนะที่ผ่านเกณฑ์จะถูกส่งต่อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อไป ผ่านการร่วมมือของผู้รับเหมา บริษัทจะสามารถปรับปรุงความปลอดภัยของกระบวนการทำงานและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ลดการเกิดอุบัติเหตุและลดต้นทุนและความล่าช้าในการดำเนินธุรกิจจากการบาดเจ็บ ทั้งนี้ ได้มีการรายงานผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะต่อที่ประชุมคณะอนุกรรมการความปลอดภัยของผู้รับเหมาในแต่ละเดือน เพื่อให้มั่นใจว่าข้อเสนอแนะที่ผ่านเกณฑ์จะถูกนำไปปฏิบัติเพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง ในปี 2566 มีจำนวนข้อเสนอแนะที่ผู้รับเหมาส่งเข้ามาทั้งหมด จำนวน 12 ข้อ ได้รับการพิจารณาเพื่อนำไปแก้ไข 9 ข้อ ซึ่งได้ดำเนินการแก้ไขปรับปรุงเรียบร้อยแล้วจำนวน 3 ข้อ
โครงการ Safety Vibe เพื่อพัฒนาศักยภาพของคู่ค้า
โครงการจัดทำขึ้นเพื่อชมเชยพนักงานของผู้รับเหมา เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของผู้รับเหมา ในการตระหนักเรื่องความปลอดภัย โดยเปิดโอกาสให้ผู้รับเหมาทุกบริษัทมาสามารถนำเสนอรายชื่อพนักงานของตนเองพร้อมรายละเอียดเหตุการณ์ที่เข้าข่ายตามเกณฑ์ที่ใช้พิจารณา นำเสนอผ่านการประชุมคณะกรรมการความปลอดภัยผู้รับเหมา โดยกิจกรรมดังกล่าวส่งผลต่อภาพลักษณ์เชิงบวกในการดำเนินงานด้านความปลอดภัยของบริษัท ที่มีต่อผู้รับเหมา ทำให้ได้รับความร่วมมือที่ดีในการส่งเสริมด้านความปลอดภัย มีเกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้
โครงการจัดทำขึ้นเพื่อชมเชยพนักงานของผู้รับเหมา เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของผู้รับเหมา ในการตระหนักเรื่องความปลอดภัย โดยเปิดโอกาสให้ผู้รับเหมาทุกบริษัทมาสามารถนำเสนอรายชื่อพนักงานของตนเองพร้อมรายละเอียดเหตุการณ์ที่เข้าข่ายตามเกณฑ์ที่ใช้พิจารณา นำเสนอผ่านการประชุมคณะกรรมการความปลอดภัยผู้รับเหมา โดยกิจกรรมดังกล่าวส่งผลต่อภาพลักษณ์เชิงบวกในการดำเนินงานด้านความปลอดภัยของบริษัท ที่มีต่อผู้รับเหมา ทำให้ได้รับความร่วมมือที่ดีในการส่งเสริมด้านความปลอดภัย มีเกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้
กิจกรรมการอบรมให้ความรู้ให้กับคู่ค้า
บริษัทจัดการฝึกอบรมคู่ค้าที่ต้องเข้ามาปฏิบัติงานในพื้นที่เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องตามกฎระเบียบและข้อบังคับ ปลอดภัย และสามารถตอบสนองต่อ
เหตุการณ์ฉุกเฉินได้อย่างเหมาะสม หลักสูตรของการฝึกอบรมมุ่งเน้นการตรวจสอบความพร้อมอุปกรณ์และความปลอดภัยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์เพื่อลดความเสี่ยงในการ
ปฏิบัติงานของคู่ค้าที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุ และความสูญเสีย และพัฒนาทักษะบุคลากรระดับผู้ควบคุมงานของคู่ค้าให้ทราบเทคนิคการเป็นผู้ฝึกสอน และสามารถถ่ายทอด
ความรู้ให้ทีมงานของคู่ค้าได้ รวมถึงมีการฝึกอบรมทบทวนความรู้อย่างต่อเนื่อง บริษัทกำหนดให้ผู้รับเหมาที่ต้องเข้ามาปฏิบัติงาน หรือให้บริการ หรือทำการซ่อมบำรุงใน
พื้นที่ต้องเข้ารับการฝึกอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานร้อยละ 100 และสอบผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 เฉพาะในหลักสูตรที่สำคัญ โดยในปี 2566 มีการจัดอบรม
รวม 25 หลักสูตร มีบริษัทคู่ค้าที่รับการฝึกอบรมจำนวน 42 ราย คิดเป็นผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมจำนวน 1,343 คน
จำนวนหลักสูตร
25 หลักสูตร
25 หลักสูตร
จำนวบริษัทคู่ค้า
เข้ารับการอบรม
42 ราย
เข้ารับการอบรม
42 ราย
จำนวนคนผู้เข้ารับ
การอบรม
1,343 คน
การอบรม
1,343 คน
โดยในปี 2567 บริษัทได้ดำเนินโครงการจัดประชุมอบรมให้คู่ค้าสำคัญลำดับ 1 และคู่ค้าลำดับ 1 ทั่วไป รวม 46 ราย เพื่อพัฒนาศักยภาพให้คู่ค้า ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของคู่ค้า ในการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG) รวมถึงสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคู่ค้า และเน้นย้ำจรรยาบรรณธุรกิจสำหรับคู่ค้า (Supplier Code of Conduct) เพื่อให้คู่ค้านำไปเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจร่วมกับ BEM และมอบของที่ระลึกจากโครงการ "Waste Cycle Way" ของบริษัท ให้แก่คู่ค้าที่ร่วมโครงการ โดยหลังเข้าร่วมกิจกรรม คู่ค้าทุกรายมีความรู้ความเข้าใจ และสามารถตอบแบบประเมินหลังอบรมได้ผ่านตามเกณฑ์ร้อยละ 70
บริษัทยังได้จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อเชิญชวนให้คู่ค้าทุกราย ร่วมดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนไปกับ BEM และเรียนรู้หลักสูตร ESG 101 ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ซึ่งเป็นหลักสูตรที่จะช่วยให้คู่ค้าสามารถทำความเข้าใจภาพรวมของการดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งมีแผนจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อสื่อสารกับคู่ค้าอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี
บริษัทยังได้จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อเชิญชวนให้คู่ค้าทุกราย ร่วมดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนไปกับ BEM และเรียนรู้หลักสูตร ESG 101 ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ซึ่งเป็นหลักสูตรที่จะช่วยให้คู่ค้าสามารถทำความเข้าใจภาพรวมของการดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งมีแผนจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อสื่อสารกับคู่ค้าอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี
Sustainable Development Training for Suppliers
โครงการ Contractor Scorecard เพื่อพัฒนาศักยภาพของคู่ค้า
โครงการนี้จัดทำขึ้นเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติงานของผู้รับเหมาที่เข้ามาปฏิบัติงานในพื้นที่ธุรกิจระบบราง ในด้านการจัดการความปลอดภัย เป็นการเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่ความ
ปลอดภัยของผู้รับเหมา นำเสนอกิจกรรมและรูปแบบการสื่อสารข้อมูลด้านความปลอดภัยให้กับผู้รับเหมาคนอื่น โดยกิจกรรมที่นำเสนอต้องครอบคลุมตัวชี้วัด 3 ด้าน ดังนี้
เข้าร่วมโครงการจำนวน 15 บริษัท มีผลการดำเนินการที่สอดคล้องตาม Compliance, Standards และ Behavior & Culture ตามเป้าหมาย ส่งผลต่อภาพลักษณ์
เชิงบวก ในการดำเนินงานด้านความปลอดภัยของบริษัท และส่งผลให้ได้รับความร่วมมือที่ดีในการส่งเสริมด้านความปลอดภัย เกิดประโยชน์ต่อบุคลากรของผู้รับเหมา
จากสถานที่ปฏิบัติงานที่ปลอดภัย ต่อผู้โดยสารจากบริการที่ปลอดภัย และต่อบริษัทจากการให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง เป็นต้น
โครงการนี้จัดทำขึ้นเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติงานของผู้รับเหมาที่เข้ามาปฏิบัติงานในพื้นที่ธุรกิจระบบราง ในด้านการจัดการความปลอดภัย เป็นการเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่ความ
ปลอดภัยของผู้รับเหมา นำเสนอกิจกรรมและรูปแบบการสื่อสารข้อมูลด้านความปลอดภัยให้กับผู้รับเหมาคนอื่น โดยกิจกรรมที่นำเสนอต้องครอบคลุมตัวชี้วัด 3 ด้าน ดังนี้
- Compliance : การปฏิบัติตามข้อกำหนด ข้อบังคับและหน้าที่ที่กำหนดไว้ดังเช่นที่ได้ระบุไว้ในระเบียบปฎิบัติงานและเป็นคำสั่งปฎิบัติงาน
- Standards : การปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
- Behavior & Culture : พฤติกรรมวัฒนธรรมองค์กรหรือแบบแผน ที่กำหนดหรือจัดทำขึ้นภายในองค์กร
เข้าร่วมโครงการจำนวน 15 บริษัท มีผลการดำเนินการที่สอดคล้องตาม Compliance, Standards และ Behavior & Culture ตามเป้าหมาย ส่งผลต่อภาพลักษณ์
เชิงบวก ในการดำเนินงานด้านความปลอดภัยของบริษัท และส่งผลให้ได้รับความร่วมมือที่ดีในการส่งเสริมด้านความปลอดภัย เกิดประโยชน์ต่อบุคลากรของผู้รับเหมา
จากสถานที่ปฏิบัติงานที่ปลอดภัย ต่อผู้โดยสารจากบริการที่ปลอดภัย และต่อบริษัทจากการให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง เป็นต้น
การพัฒนาศักยภาพบุคลากรภายในหน่วยงาน
บริษัท สื่อสารนโยบาย ระเบียบ และหลักเกณฑ์ปฏิบัติด้านความยั่งยืนให้เจ้าหน้าที่จัดซื้ออย่างสม่ำเสมอ และจัดให้บุคลากรของฝ่ายจัดซื้อได้เข้ารับการฝึกอบรมด้านความยั่งยืน
ที่จัดขึ้นโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อส่งเสริมให้พนักงานมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญในการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน โดยสามารถนำ
หลักการและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เจ้าหน้าที่จัดซื้อที่เข้าร่วมการฝึกอบรมผ่านเกณฑ์การอบรมทุกหลักสูตร
นอกจากนี้ผู้บริหารระดับผู้จัดการแผนกขึ้นไป (ผู้จัดการ ผู้อำนวยการ และผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ) ที่เกี่ยวข้องกับงานจัดซื้อจัดจ้างได้เข้ารับการฝึกอบรมในหัวข้อ วิธี
ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืนในเชิงปฏิบัติ ที่จัดขึ้นโดยสมาคมบริหารงานจัดซื้อและซัพพลายเชนแห่งประเทศไทยอีกด้วย
บริษัท สื่อสารนโยบาย ระเบียบ และหลักเกณฑ์ปฏิบัติด้านความยั่งยืนให้เจ้าหน้าที่จัดซื้ออย่างสม่ำเสมอ และจัดให้บุคลากรของฝ่ายจัดซื้อได้เข้ารับการฝึกอบรมด้านความยั่งยืน
ที่จัดขึ้นโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อส่งเสริมให้พนักงานมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญในการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน โดยสามารถนำ
หลักการและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เจ้าหน้าที่จัดซื้อที่เข้าร่วมการฝึกอบรมผ่านเกณฑ์การอบรมทุกหลักสูตร
นอกจากนี้ผู้บริหารระดับผู้จัดการแผนกขึ้นไป (ผู้จัดการ ผู้อำนวยการ และผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ) ที่เกี่ยวข้องกับงานจัดซื้อจัดจ้างได้เข้ารับการฝึกอบรมในหัวข้อ วิธี
ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืนในเชิงปฏิบัติ ที่จัดขึ้นโดยสมาคมบริหารงานจัดซื้อและซัพพลายเชนแห่งประเทศไทยอีกด้วย
โครงการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว (Green Procurement)
บริษัทยึดมั่นในความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และมีนโยบายสิ่งแวดล้อมตลอดจนนโยบายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ดังนั้นเพื่อให้กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างตอบสนองต่อนโยบายดังกล่าว จึงมีการจัดทำนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Procurement Policy) เพื่อกำหนดแนวปฏิบัติสำหรับการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้ผู้บริหาร พนักงาน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดซื้อจัดจ้างทุกคน นำไปปฏิบัติอย่างจริงจัง เพื่อให้สอดคล้องต่อนโยบายสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของบริษัทต่อไป ดังนี้
- ส่งเสริมสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และให้ความสำคัญในการบริหารวงจรชีวิตของสินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องอย่างคุ้มค่า
- การจัดหาสินค้าและบริการจะพิจารณาจากผู้ขายหรือผู้ให้บริการที่มีผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเป็นลำดับแรก เว้นแต่มีข้อจำกัดในด้านราคาหรืองบประมาณ
- ส่งเสริมการให้ความรู้และรณรงค์สร้างจิตสำนึกแก่พนักงานและผู้มีส่วนได้เสีย ในการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและเลือกใช้สินค้าหรือบริการที่สนับสนุนการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ยังได้มีการจัดทำสื่อสารภายในเพื่อการกระตุ้นและสร้างความตระหนักในการมีส่วนร่วมในการจัดซื้อสินค้าบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้กับพนักงานอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ การให้ความรู้และเชิญชวนใช้สินค้า Green Label, Green Hotel และ ตะกร้าเขียว
ค่าเฉลี่ยระยะเวลาในการชำระเงินให้แก่คู่ค้า
บริษัทมีนโยบายในการปฏิบัติต่อคู่ค้าทุกรายด้วยความเสมอภาค เป็นธรรม และโปร่งใส โดยยึดมั่นในการปฏิบัติ ตามเงื่อนไขและสัญญาต่างๆ อย่างเคร่งครัด มีขั้นตอนการทำงานอย่างรัดกุม มีกระบวนการสอบทานและควบคุมขั้นตอน การปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัด มีระบบการควบคุมภายในที่ดี สามารถตรวจสอบได้อย่างโปร่งใส ซึ่งทำให้เกิดความมั่นใจว่ามีการจ่ายเงินอย่างถูกต้องและทันตามกำหนดเวลา โดยระบุไว้ที่ 30-45 วัน ภายหลังจากมีการส่งสินค้าหรือบริการและได้มีการเรียกรับวางบิลให้คู่ค้า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อตกลงที่ทำกับคู่ค้าแต่ละราย (อาจมากกว่า หรือน้อยกว่า 30-45 วัน)
บริษัทมีนโยบายในการปฏิบัติต่อคู่ค้าทุกรายด้วยความเสมอภาค เป็นธรรม และโปร่งใส โดยยึดมั่นในการปฏิบัติ ตามเงื่อนไขและสัญญาต่างๆ อย่างเคร่งครัด มีขั้นตอนการทำงานอย่างรัดกุม มีกระบวนการสอบทานและควบคุมขั้นตอน การปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัด มีระบบการควบคุมภายในที่ดี สามารถตรวจสอบได้อย่างโปร่งใส ซึ่งทำให้เกิดความมั่นใจว่ามีการจ่ายเงินอย่างถูกต้องและทันตามกำหนดเวลา โดยระบุไว้ที่ 30-45 วัน ภายหลังจากมีการส่งสินค้าหรือบริการและได้มีการเรียกรับวางบิลให้คู่ค้า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อตกลงที่ทำกับคู่ค้าแต่ละราย (อาจมากกว่า หรือน้อยกว่า 30-45 วัน)
นโยบายและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง
นโยบายการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานไปยังลิงก์
จรรยาบรรณธุรกิจไปยังลิงก์
จรรยาบรรณธุรกิจสำหรับคู่ค้าไปยังลิงก์
สมัครขึ้นทะเบียนคู่ค้าไปยังลิงก์
ช่องทางการแจ้งเบาะแส หรือข้อร้องเรียน
บริษัทตระหนักและให้ความสำคัญ รวมถึงมีนโยบายในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน โดยจัดให้มีมาตรการป้องกันการทุจริตทั้งภายในและภายนอก กำหนดแนวทางและ
ขั้นตอนการปฏิบัติ การติดตาม การเฝ้าระวัง แนวทางการทบทวน ประเมินความเสี่ยง เป็นต้น เพื่อให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัททุกคนได้ยืดถือและปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างโปร่งใสและมีคุณธรรม ยึดมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคมและผู้มีส่วนได้เสียตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีและมี
จรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ รวมถึงมีความมุ่งมั่นในการต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบ
บริษัทขอเป็นส่วนหนึ่งในการสื่อสารเพื่อรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ และร่วมแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน โดยขอเชิญชวนทุกท่านเข้าร่วมเป็นภาคีเครือข่ายแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (Thai Private Sector Collective Action Against Corruption : CAC) หากบริษัทของท่านมีความสนใจเข้าร่วมเครือข่ายดังกล่าว สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.thai-cac.com
กรณีท่านพบพนักงานของบริษัทมีพฤติกรรมที่เข้าข่ายไปในทางไม่สุจริตไม่ว่ากรณีใดๆ มีข้อสงสัยหรือพบเห็นการกระทำที่สงสัยว่าเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ จรรยาบรรณ หรือนโยบายของบริษัท ท่านสามารถสอบถาม แจ้งเบาะแส หรือร้องเรียน พร้อมส่งรายละเอียดหลักฐานต่างๆ ตามช่องทางต่อไปนี้
ขั้นตอนการปฏิบัติ การติดตาม การเฝ้าระวัง แนวทางการทบทวน ประเมินความเสี่ยง เป็นต้น เพื่อให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัททุกคนได้ยืดถือและปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างโปร่งใสและมีคุณธรรม ยึดมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคมและผู้มีส่วนได้เสียตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีและมี
จรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ รวมถึงมีความมุ่งมั่นในการต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบ
บริษัทขอเป็นส่วนหนึ่งในการสื่อสารเพื่อรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ และร่วมแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน โดยขอเชิญชวนทุกท่านเข้าร่วมเป็นภาคีเครือข่ายแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (Thai Private Sector Collective Action Against Corruption : CAC) หากบริษัทของท่านมีความสนใจเข้าร่วมเครือข่ายดังกล่าว สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.thai-cac.com
กรณีท่านพบพนักงานของบริษัทมีพฤติกรรมที่เข้าข่ายไปในทางไม่สุจริตไม่ว่ากรณีใดๆ มีข้อสงสัยหรือพบเห็นการกระทำที่สงสัยว่าเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ จรรยาบรรณ หรือนโยบายของบริษัท ท่านสามารถสอบถาม แจ้งเบาะแส หรือร้องเรียน พร้อมส่งรายละเอียดหลักฐานต่างๆ ตามช่องทางต่อไปนี้
ประธานกรรมการตรวจสอบ / กรรมการอิสระ / เลขานุการบริษัท
บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
เลขที่ 238/7 ถนนอโศก-ดินแดง แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310
โทรศัพท์ : 0-2641-4611
อีเมล : companysecretary@bemplc.co.th
บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
เลขที่ 238/7 ถนนอโศก-ดินแดง แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310
โทรศัพท์ : 0-2641-4611
อีเมล : companysecretary@bemplc.co.th
ศูนย์บริการข้อมูลรถไฟฟ้า MRT
วันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 07.00-20.00 น.
วันเสาร์-อาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น.
BEM
- รู้จัก BEM
- เกี่ยวกับเรา
- เหตุการณ์สำคัญ
- ข้อมูลพื้นฐาน BEM
- ลักษณะการประกอบธุรกิจ
- สารจากประธานกรรมการบริษัท
- โครงสร้างองค์กร
- คณะกรรมการบริษัท
- คณะกรรมการตรวจสอบ
- คณะกรรมการสรรหาและกําหนดค่าตอบแทน
- คณะกรรมการบรรษัทภิบาล บริหารความเสี่ยง และการพัฒนาอย่างยั่งยืน
- คณะกรรมการบริหาร
- คณะผู้บริหาร
- การกํากับดูแลกิจการ
- คู่มือบรรษัทภิบาล
- วิสัยทัศน์และพันธกิจ
- เป้าหมายและกลยุทธ์ธุรกิจ
- นโยบายบริษัท
- กฎบัตรคณะกรรมการ
- ข้อบังคับบริษัท
- จรรยาบรรณบริษัท
- จรรยาบรรณนักลงทุนสัมพันธ์
- จรรยาบรรณธุรกิจสำหรับคู่ค้า
- ติดต่อเลขานุการบริษัท
- ศูนย์ข้อมูลส่วนบุคคล
- การแจ้งเตือนให้นําข้อมูลคอมพิวเตอร์ออกจากระบบ
- การพัฒนาอย่างยั่งยืน
ข่าวประชาสัมพันธ์
ร่วมธุรกิจกับ BEM
- พัฒนาเชิงพาณิชย์
- จัดซื้อจัดจ้าง
ร่วมงานกับ BEM
- ร่วมงานกับ BEM
สงวนลิขสิทธิ์ © พ.ศ.2561 บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
Member of , APTA and COMET
BANGKOK MRT
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
ตอบรับไลฟ์สไตล์คนเมืองด้วยแอปพลิเคชัน Bangkok MRT ทำให้วางแผนการเดินทางเป็นเรื่องง่ายแค่ปลายนิ้วสำหรับคุณ มีครบทั้งข้อมูลรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสายสีม่วง เช่น แผนที่เส้นทางรถไฟฟ้า แผนผังบริเวณสถานี สิ่งอำนวยความสะดวก ข่าวสารและกิจกรรม พร้อมทั้งฟังก์ชันต่างๆ ให้คุณเลือกใช้อีกเพียบ...