
- รู้จัก BEM
- ลักษณะการประกอบธุรกิจ
ภาพรวมการประกอบธุรกิจของ BEM
BEM มุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำด้านการให้บริการระบบคมนาคมขนส่งที่ครบวงจร สร้างการเดินทางที่สะดวก รวดเร็ว เชื่อถือได้ และปลอดภัย เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต โดยธุรกิจของบริษัทประกอบไปด้วยการให้บริการทางพิเศษ
และระบบขนส่งมวลชน ด้วยรถไฟฟ้ารวมถึงธุรกิจพัฒนาเชิงพาณิชย์ที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับธุรกิจหลัก มีภาพรวมการประกอบธุรกิจของบริษัทแบ่งออก เป็น 3 ธุรกิจหลัก ดังนี้

ธุรกิจทางพิเศษ
BEM และบริษัทย่อย คือ บริษัท ทางด่วนกรุงเทพเหนือ จำกัด (“NECL”) เป็นผู้รับสัมปทานในการก่อสร้าง และบริหารทางพิเศษ รวม 3 สายทาง ซึ่งได้แก่ ทางพิเศษศรีรัช (ส่วนเอบี ส่วนซี และส่วนดี) ทางพิเศษประจิมรัถยา และทางพิเศษอุดรรัถยา โดยมีรายละเอียดดังนี้1. ทางพิเศษศรีรัช (ส่วนเอบี ส่วนซี และส่วนดี)
ทางพิเศษศรีรัช (ทางด่วนขั้นที่ 2) ภายใต้สัญญาโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 2 (ฉบับแก้ไข) กับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (“กทพ”) โดยจะสิ้นสุดระยะเวลาสัมปทาน ในวันที่ 31 ตุลาคม 2578 สำหรับทางพิเศษศรีรัชส่วนดีอาจขยายออกไปอีก 11 ปี 6 เดือน นับแต่วันสิ้นสุดระยะเวลาของสัญญาเดิม คือ วันที่ 22 เมษายน 2570 ทางพิเศษศรีรัชเป็นโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่โครงการแรกในประเทศไทยที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน โดยลักษณะโครงการเป็น BTO (Build Transfer Operate)
- ส่วนเอบี (จากถนนรัชดาภิเษกมุ่งหน้าทิศใต้ผ่านต่างระดับพญาไท ไปทางทิศตะวันออกถึงถนนพระราม 9 และจากต่างระดับพญาไทไปทางทิศใต้ถึงต่างระดับบางโคล่)
- ส่วนซี (จากถนนรัชดาภิเษกมุ่งหน้าไปทางทิศเหนือถึงถนนแจ้งวัฒนะ)
- ส่วนดี (จากถนนพระราม 9 มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกถึงถนนศรีนครินทร์)
2. ทางพิเศษประจิมรัถยา
ทางพิเศษประจิมรัถยา (ทางพิเศษสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร) ภายใต้สัญญาสัมปทานการลงทุนออกแบบก่อสร้าง บริหารจัดการ ให้บริการและบำรุงรักษาโครงการทางพิเศษสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร กับ กทพ. โดยระยะเวลาสัมปทาน 30 ปี จะสิ้นสุดในวันที่ 14 ธันวาคม 2585
บริษัทมีหน้าที่ในการออกแบบและก่อสร้าง จัดหาและติดตั้งอุปกรณ์และระบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและมีหน้าที่ ในการบริหารจัดการ ให้บริการและบำรุงรักษาทางพิเศษรวมทั้งการเรียกเก็บค่าผ่านทาง เพื่อแลกเปลี่ยนกับสิทธิในรายได้ค่าผ่านทางและรายได้อื่นๆ (ถ้ามี) ลักษณะของโครงการเป็นทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร ระยะทาง 16.7 กิโลเมตร มีด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษจำนวน 9 ด่าน มีแนวเส้นทางของโครงการเริ่มต้นจากถนนวงแหวนรอบนอกฯ (ถนนกาญจนาภิเษกบริเวณใกล้โรงกรองน้ำมหาสวัสดิ์) ไปทางทิศตะวันออกตามแนวทางรถไฟสายใต้เดิม และข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสะพานพระราม 7 สิ้นสุดโครงการบริเวณสถานีกลางบางซื่อ (จตุจักร) โดยเชื่อมต่อกับทางพิเศษศรีรัชบริเวณด้านเหนือของสถานีขนส่งหมอชิต 2 และลงสู่ระดับดินที่บริเวณถนนกำแพงเพชร 2 นอกจากนี้ บริษัทได้เปิดใช้ทางเชื่อมต่อทางทางพิเศษประจิมรัถยา ไปยังทางพิเศษศรีรัชด้านทิศเหนือ (มุ่งหน้าแจ้งวัฒนะ) เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2561 เพื่อเพิ่มความสะดวกในการเดินทางไปแจ้งวัฒนะ และต่อเนื่องไปทางพิเศษอุดรรัถยา ทั้งนี้ บริษัทเป็นผู้รับภาระในการลงทุนและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานทั้งหมด และแบ่งผลตอบแทนหรือให้ประโยชน์แก่ กทพ. ตามที่กำหนดไว้ในสัญญา
ในการบริหารจัดการโครงการนี้ บริษัทเป็นผู้จัดเก็บค่าผ่านทาง และมีสิทธิที่จะได้รับรายได้ค่าผ่านทางทั้งหมด และรายได้อื่น (ถ้ามี) ตลอดระยะเวลาสัมปทาน ซึ่งอัตราค่าผ่านทางและการปรับอัตราค่าผ่านทางเป็นไปตามที่ตกลงในสัญญา
3. ทางพิเศษอุดรรัถยา
ทางพิเศษอุดรรัถยา (ทางด่วนสายบางปะอิน-ปากเกร็ด) ดำเนินการโดย NECL ภายใต้สัญญาโครงการทางด่วนสายบางปะอิน-ปากเกร็ด (ฉบับแก้ไข) กับ กทพ. โดยระยะเวลาสัมปทานจะสิ้นสุดในวันที่ 31 ตุลาคม 2578 โดยอาจขยายสัญญาออกไปอีก 10 ปี 11 เดือน นับแต่วันสิ้นสุดระยะเวลาของสัญญาเดิม คือ วันที่ 27 กันยายน 2569
ทางพิเศษอุดรรัถยา มีลักษณะโครงการเป็น BTO (Build Transfer Operate) เช่นเดียวกับทางพิเศษศรีรัช คือ NECL จะเป็นผู้ลงทุนในการออกแบบก่อสร้างและบริหารทางพิเศษอุดรรัถยา โดยกรรมสิทธิ์ในสิ่งก่อสร้างถาวรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องหรือใช้ประโยชน์ในทางพิเศษจะตกเป็นของ กทพ. และ กทพ. เป็นผู้จัดเก็บค่าผ่านทางทั้งหมดแล้วส่งมอบรายได้ค่าผ่านทางให้ NECL ตามที่กำหนดไว้ในสัญญา ซึ่งทางพิเศษอุดรรัถยาประกอบด้วยทางพิเศษ 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 แจ้งวัฒนะ-เชียงราก และระยะที่ 2 เชียงราก-บางไทร เชื่อมต่อกับทางพิเศษศรีรัช ที่บริเวณถนนแจ้งวัฒนะมีระยะทางรวมทั้งสิ้น 32 กิโลเมตร สำหรับขาเข้าเมืองผู้ใช้ทางชำระค่าผ่านทางที่ด่านเก็บเงิน ณ จุดขึ้นทางพิเศษ สำหรับขาออกจากเมืองชำระค่าผ่านทางที่จุดลงทางพิเศษ โดย กทพ.เป็นผู้จัดเก็บค่าผ่านทางทั้งหมดแล้วส่งมอบให้ NECL รายได้ค่าผ่านทางในส่วนของทางพิเศษอุดรรัถยาเป็นของ NECL ทั้งหมด
รายละเอียดของโครงข่ายที่เชื่อมโยงระบบทางพิเศษส่วนต่างๆ ดังนี้
ระบบทางพิเศษ |
ระยะทาง (ก.ม.) |
ก่อสร้างและบริหารงานโดย |
1. ทางพิเศษเฉลิมมหานคร (ทางด่วนขั้นที่ 1) |
27.1 |
กทพ. |
2. ทางพิเศษศรีรัช (ทางด่วนขั้นที่ 2) |
38.5 |
บริษัท |
3. ทางพิเศษอุดรรัถยา (บางปะอิน-ปากเกร็ด) |
32.0 |
NECL |
4. ทางพิเศษประจิมรัถยา |
16.7 |
บริษัท |
5. ทางพิเศษอุตราภิมุข (ดอนเมืองโทลล์เวย์) |
28.0 |
บมจ.ทางยกระดับดอนเมือง |
6. ทางพิเศษฉลองรัชรวมส่วนต่อขยาย (รามอินทรา-อาจณรงค์ |
32.9 |
กทพ. |
7. ทางพิเศษบูรพาวิถี (บางนา-ชลบุรี) |
55 |
กทพ. |
8. ทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี-สุขสวัสดิ์) และทางหลวงหมายเลข 37 |
37.8 |
กทพ. |
รวมระยะทางทั้งสิ้น | 268.0 |
ส่วนแบ่งรายได้ค่าผ่านทาง
ส่วนแบ่งรายได้ค่าผ่านทางสำหรับทางพิเศษส่วนในเมือง (เฉลิมมหานคร และศรีรัชส่วนเอบี) บริษัทได้รับส่วนแบ่งรายได้ค่าผ่านทางในอัตราร้อยละ 40 และ กทพ.ได้รับส่วนแบ่งร้อยละ 60 สำหรับทางพิเศษส่วนนอกเมือง (ศรีรัชส่วนซี และส่วนดี) ทางพิเศษประจิมรัถยา และทางพิเศษอุดรรัถยา บริษัทได้รับรายได้ค่าผ่านทางทั้งหมด ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดในสัญญาระบบทางพิเศษ |
ระยะทาง (ก.ม.) | รายได้ | การแบ่งรายได้ บริษัท : กทพ. |
ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ดินแดง-ท่าเรือ บางนา-ท่าเรือ ท่าเรือ-ดาวคะนอง |
8.9 |
|
|
ทางพิเศษศรีรัช ส่วนเอบี (พระราม 9-รัชดาภิเษก) (พญาไท-บางโคล่) |
21.8 |
|
|
ส่วนซี (รัชดาภิเษก-แจ้งวัฒนะ) | 8.0 | บริษัท |
100 : 0 |
ส่วนดี (พระราม 9-ศรีนครินทร์) | 8.7 | บริษัท |
100 : 0 |
ทางพิเศษประจิมรัถยา | 16.7 | บริษัท | 100 : 0 |
ทางพิเศษอุดรรัถยา แจ้งวัฒนะ-เชียงราก เชียงราก-บางไทร |
|
NECL
|
100 : 0 |
อัตราค่าผ่านทาง
ทางพิเศษ / ด่านเก็บค่าผ่านทาง | อัตราค่าผ่านทาง (บาท/เที่ยว) |
||
4 ล้อ | 6-10 ล้อ | มากกว่า 10 ล้อ | |
ทางพิเศษเฉลิมมหานคร (ทางด่วนขั้นที่ 1) | 50 | 75 | 110 |
ยกเว้น ด่านอาจณรงค์ 1 (ไปบางนา) |
25 (1) |
50 (1) |
85 (1) |
ทางพิเศษศรีรัช (ทางด่วนขั้นที่ 2) (ส่วนเอบี) | 50 | 75 | 110 |
ทางพิเศษศรีรัช (ทางด่วนขั้นที่ 2) (ส่วนซี) | 15 | 20 | 35 |
ยกเว้น | |||
ด่านประชาชื่น (ขาเข้า) | 60 (2) | 90 (2) | 140 (2) |
ด่านประชาชื่น (ขาออก) | 10 (2) | 15 (2) | 30 (2) |
ทางพิเศษศรีรัช (ทางด่วนขั้นที่ 2) (ส่วนดี) | 25 | 55 | 75 |
ทางพิเศษประจิมรัถยา | 65 | 105 | 150 |
ทางพิเศษอุดรรัถยา | 45 | 100 | 150 |
ยกเว้น | |||
ด่านบางปะอิน | 55 | 120 | 180 |
(2) กรณีที่ผู้ใช้ทางใช้บริการทางด่วนขั้นที่ 2 ต่อเนื่องจากส่วนเอบี ไปส่วนซี ที่ด่านประชาชื่น (ขาออก) หรือจากส่วนซี ไปส่วนเอบี ที่ด่านประชาชื่น (ขาเข้า) ค่าผ่านทางของส่วนที่สองที่ใช้บริการสำหรับรถทุกประเภทจะได้รับส่วนลด 5 บาท ตลอดระยะเวลาของสัญญา
การปรับอัตราค่าผ่านทางตามสัญญา
- ทางพิเศษเฉลิมมหานครและทางพิเศษศรีรัช มีการปรับทุก 10 ปี โดยจะมีการปรับอัตราค่าผ่านทางครั้งต่อไปในวันที่ 1 กันยายน 2571
- ทางพิเศษประจิมรัถยา มีการปรับทุก 5 ปี นับแต่วันที่เปิดดำเนินการโครงการในอัตรา 15 บาท 25 บาท และ 35 บาท สำหรับรถ 4 ล้อ รถ 6-10 ล้อ และรถมากกว่า 10 ล้อตามลำดับ ซึ่งเป็นไปตามอัตราที่ระบุไว้ในสัญญา โดยมีการปรับอัตราค่าผ่านทางครั้งแรก เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2564 และ
- ทางพิเศษอุดรรัถยา มีการปรับทุกวันที่ 1 พฤศจิกายน สำหรับทุกระยะเวลา 10 ปี โดยจะมีการปรับอัตราค่าผ่านทางครั้งต่อไปในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2571

ธุรกิจระบบราง
บริษัทเป็นผู้รับสัมปทานการให้บริการเดินรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนจำนวน 2 โครงการ จากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (“รฟม.”) โดยมีรายละเอียดดังนี้1. โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (“โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน”) บริษัทได้เข้าทำสัญญาสัมปทานกับ รฟม. เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2560 โดยมีระยะเวลาสัมปทาน 33 ปี นับจากวันที่ รฟม. แจ้งให้เริ่มงาน (Notice to Proceed : NTP) บริษัทมีหน้าที่ดำเนินการจัดหาติดตั้ง และทดสอบอุปกรณ์งานระบบดำเนินการให้บริการเพื่อให้เป็นการเดินรถแบบต่อเนื่องเป็นโครงข่ายเดียวกัน (Through Operation) และบริษัทเป็นผู้มีสิทธิในรายได้ค่าโดยสาร รวมทั้งการดำเนินกิจกรรมและการพัฒนาเชิงพาณิชย์ ซึ่งรวมถึงการโฆษณา การให้เช่าพื้นที่ในโครงการ และธุรกิจให้บริการสื่อสารโทรคมนาคมภายในสถานีและภายในขบวนรถไฟฟ้าตลอดระยะเวลาสัมปทาน เป็นระยะเวลา 30 ปี นับจากวันที่เปิดให้บริการครบทั้งสายทาง ทั้งนี้ โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ประกอบด้วย ช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ (สายสีน้ำเงินเดิม)
- ช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ (สายสีน้ำเงินเดิม) โครงการรถไฟฟ้าที่เป็นทางวิ่งใต้ดินสายแรกของประเทศไทย มีระยะทาง 20 กิโลเมตร จำนวน 18 สถานี เปิดให้บริการเดินรถเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2547 บริษัทเป็นผู้มีสิทธิในรายได้ค่าโดยสาร รวมทั้งการดำเนินกิจกรรมและการพัฒนาเชิงพาณิชย์ ซึ่งรวมถึงการโฆษณา การให้เช่าพื้นที่ในโครงการ และธุรกิจให้บริการสื่อสารโทรคมนาคมภายในสถานีและภายในขบวนรถไฟฟ้า
- ช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงบางซื่อ-ท่าพระ (สายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย) เป็นโครงสร้างทางวิ่งแบบผสมทั้งใต้ดินและยกระดับ โดยมีสถานีรวมทั้งสิ้นจำนวน 20 สถานี เป็นสถานีใต้ดิน 4 สถานี และเป็นสถานียกระดับ 16 สถานี มีจุดเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงินเดิม) ที่สถานีหัวลำโพง และสถานีบางซื่อ และเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) ที่สถานีเตาปูน บริษัทเป็นผู้ลงทุน จัดหา ติดตั้ง ทดสอบอุปกรณ์งานระบบ และทดลองเดินรถไฟฟ้า รวมถึงการให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุงรักษา โดยให้การเดินรถแบบต่อเนื่องกัน (Through Operation) ทั้งนี้ ได้แบ่งการดำเนินงานช่วงการจัดหาและติดตั้งอุปกรณ์งานระบบ เพื่อเปิดให้บริการออกเป็น 3 ช่วง ดังนี้
- ช่วงที่ 1 สถานีบางซื่อ-สถานีเตาปูน ได้เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2560
- ช่วงที่ 2 สถานีหัวลำโพง-สถานีหลักสอง ได้เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2562
- ช่วงที่ 3 สถานีเตาปูน-สถานีท่าพระ ได้เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2563 ทำให้การเดินรถในโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินต่อเนื่องเป็นโครงข่ายเดียวกัน (Through Operation) โดยมีสถานีท่าพระเป็นสถานีร่วม และเชื่อมต่อหลัก (Interchange Station) ซึ่งจะทำให้ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนเส้นทางจากสถานีท่าพระ เพื่อโดยสารออกนอกเมืองไปทางฝั่งตะวันตกผ่านสถานีบางไผ่ไปยังสถานีหลักสอง หรือเพื่อโดยสารเข้าในเมืองชั้นในผ่านสถานีอิสรภาพไปยังสถานีหัวลำโพง รวมถึงยังสามารถเดินทางไปสถานีเตาปูน เพื่อเชื่อมต่อไปยังโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง)
2. โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (“โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง”) ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ (สถานีคลองบางไผ่-สถานีเตาปูน) มีระยะทาง 23 กิโลเมตร มีสถานีทั้งหมด 16 สถานี เป็นสถานีแบบยกระดับทั้งหมด มีสถานีเตาปูน เป็นสถานีเชื่อมต่อกับสถานีบางซื่อของรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) ซึ่งจะทำให้ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนเส้นทางจากสายสีม่วงไปยังสายสีน้ำเงินได้ที่สถานีเตาปูน และในอนาคตจะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง (ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ)
บริษัทได้รับสัมปทานการลงทุน การจัดหาระบบรถไฟฟ้า การให้บริการการเดินรถไฟฟ้า และซ่อมบำรุงรักษา ลักษณะสัญญาเป็นการร่วมลงทุนแบบ PPP Gross Cost ซึ่ง รฟม. เป็นผู้ลงทุนค่างานโยธาทั้งหมด และบริษัทเป็นผู้ลงทุนค่างานระบบรถไฟฟ้าและขบวนรถไฟฟ้า รวมทั้งให้บริการการเดินรถไฟฟ้า และซ่อมบำรุงรักษาตามมาตรฐานการให้บริการที่กำหนดไว้ในเงื่อนไขสัญญา โดย รฟม. เป็นผู้มีสิทธิในรายได้ค่าโดยสาร และรายได้เชิงพาณิชย์จากการใช้ประโยชน์โครงสร้างพื้นฐานทางโยธาและระบบรถไฟฟ้าทั้งหมด และ รฟม. จะทยอยจ่ายคืนค่าอุปกรณ์งานระบบให้บริษัทเป็นรายเดือนในระยะเวลา 10 ปี และจ้างบริษัทบริหารการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงรักษาตลอดอายุสัมปทาน 30 ปี นับจากวันที่ 4 กันยายน 2556 ปัจจุบันมีรถไฟฟ้าที่วิ่งบริการ จำนวน 21 ขบวน มีระยะเวลาให้บริการทุกวันไม่มีวันหยุด วันจันทร์-วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 05.30-24.00 น. วันเสาร์-วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 06.00-24.00 น.

ธุรกิจพัฒนาเชิงพาณิชย์
บริษัทได้มีการพัฒนาเชิงพาณิชย์ที่เกี่ยวข้องกับระบบทางพิเศษ โดยได้ให้บริษัทเอกชนและบุคคลใช้พื้นที่เพื่อดำเนินการในเชิงพาณิชย์ในเขตพื้นที่ระบบทางพิเศษ เพื่อติดตั้งป้ายรายงานสภาพจราจรและป้ายโฆษณาในรูปแบบต่างๆ รวมทั้งให้ใช้พื้นที่ทำร้านค้าบริเวณด่านเก็บค่าผ่านทาง และการดำเนินธุรกิจอื่นๆ เช่น ใช้พื้นที่ในเขตทางพิเศษเพื่อติดตั้งระบบกระจายสัญญาณ 3G เป็นต้น และในส่วนการพัฒนาเชิงพาณิชย์ในโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) บริษัทเป็นผู้ดำเนินการ และได้แต่งตั้งให้บริษัทย่อยคือ บริษัท แบงคอก เมโทร เน็ทเวิร์คส์ จำกัด (“BMN”) เป็นผู้แทนบริหารการพัฒนาเชิงพาณิชย์ของโครงการรถไฟฟ้าดังกล่าวกิจกรรมเพื่อสังคม
บริษัท ในฐานะผู้ให้บริการทางพิเศษ และรถไฟฟ้า ด้วยความมุ่งมั่นดำเนินงานตามเจตนารมณ์ที่จะมีส่วนช่วยบรรเทาปัญหาจราจรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยการเชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนและคมนาคมแบบครบวงจร
ศูนย์บริการข้อมูลรถไฟฟ้า MRT
วันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 07.00-20.00 น.
วันเสาร์-อาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น.
BEM
- รู้จัก BEM
- เกี่ยวกับเรา
- เหตุการณ์สำคัญ
- ข้อมูลพื้นฐาน BEM
- ลักษณะการประกอบธุรกิจ
- สารจากประธานกรรมการบริษัท
- โครงสร้างองค์กร
- คณะกรรมการบริษัท
- คณะกรรมการตรวจสอบ
- คณะกรรมการสรรหาและกําหนดค่าตอบแทน
- คณะกรรมการบรรษัทภิบาล บริหารความเสี่ยง และการพัฒนาอย่างยั่งยืน
- คณะกรรมการบริหาร
- คณะผู้บริหาร
- การกํากับดูแลกิจการ
- คู่มือบรรษัทภิบาล
- วิสัยทัศน์และพันธกิจ
- เป้าหมายและกลยุทธ์ธุรกิจ
- นโยบายบริษัท
- กฎบัตรคณะกรรมการ
- ข้อบังคับบริษัท
- จรรยาบรรณบริษัท
- จรรยาบรรณนักลงทุนสัมพันธ์
- จรรยาบรรณธุรกิจสำหรับคู่ค้า
- ติดต่อเลขานุการบริษัท
- ศูนย์ข้อมูลส่วนบุคคล
- การแจ้งเตือนให้นําข้อมูลคอมพิวเตอร์ออกจากระบบ
- การพัฒนาอย่างยั่งยืน
ข่าวประชาสัมพันธ์
ร่วมธุรกิจกับ BEM
- พัฒนาเชิงพาณิชย์
- จัดซื้อจัดจ้าง
ร่วมงานกับ BEM
- ร่วมงานกับ BEM
สงวนลิขสิทธิ์ © พ.ศ.2561 บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
Member of , APTA and COMET





BANGKOK MRT
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
ตอบรับไลฟ์สไตล์คนเมืองด้วยแอปพลิเคชัน Bangkok MRT ทำให้วางแผนการเดินทางเป็นเรื่องง่ายแค่ปลายนิ้วสำหรับคุณ มีครบทั้งข้อมูลรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสายสีม่วง เช่น แผนที่เส้นทางรถไฟฟ้า แผนผังบริเวณสถานี สิ่งอำนวยความสะดวก ข่าวสารและกิจกรรม พร้อมทั้งฟังก์ชันต่างๆ ให้คุณเลือกใช้อีกเพียบ...