ประธานกรรมการตรวจสอบ
กรรมการตรวจสอบ
กรรมการตรวจสอบ
รายงานคณะกรรมการตรวจสอบ
คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) โดยการแต่งตั้งของคณะกรรมการบริษัท ประกอบด้วยกรรมการอิสระผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน โดยมีนายวิฑูร เตชะทัศนสุนทร เป็นประธานกรรมการตรวจสอบ พลเอกเชษฐา ฐานะจาโร และดร.อรรณพ ตันละมัย เป็นกรรมการตรวจสอบ โดยประธานกรรมการตรวจสอบ และดร.อรรณพ ตันละมัย เป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านบัญชีและการเงิน และมีผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบภายใน ทำหน้าที่เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ
คณะกรรมการตรวจสอบได้ปฏิบัติหน้าที่ภายใต้ขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท ซึ่งสอดคล้องกับข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตลอดจนให้คำแนะนำในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้รับความร่วมมืออย่างดีจากฝ่ายจัดการ ผู้ตรวจสอบภายใน และผู้สอบบัญชีของบริษัทโดยในปี 2566 มีการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบจำนวน 5 ครั้ง โดยคณะกรรมการตรวจสอบเข้าร่วมประชุมครบทุกครั้ง ได้มีการหารือและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกับฝ่ายจัดการ และผู้ตรวจสอบภายใน และประชุมร่วมกับผู้สอบบัญชีโดยไม่มีฝ่ายจัดการ จำนวน 2 ครั้ง เพื่อปรึกษาหารือในสาระสำคัญของแผนการสอบบัญชี ประเด็นทางการบัญชีที่สำคัญ และมาตรฐานการบัญชีที่จะบังคับใช้ ความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ และแสดงความคิดเห็นของผู้สอบบัญชี และได้รายงานผลการประชุมให้คณะกรรมการบริษัทรับทราบเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี
ทั้งนี้ สรุปสาระสำคัญในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบประจำปี 2566 ได้ดังนี้
1. การสอบทานรายงานทางการเงิน
คณะกรรมการตรวจสอบได้สอบทานงบการเงินรายไตรมาสและงบการเงินประจำปี 2566 ของบริษัทและบริษัทย่อย รวมถึงการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี การปรับปรุงรายการบัญชีที่สำคัญ และการเปิดเผยข้อมูลอย่างถูกต้องครบถ้วน โดยได้รับฟังคำชี้แจงจากผู้สอบบัญชี ฝ่ายจัดการ และผู้ตรวจสอบภายใน ซึ่งมีการสอบถามผู้สอบบัญชีเรื่องความถูกต้องครบถ้วนของงบการเงิน การปรับปรุงรายการบัญชีที่มีผลกระทบอย่างเป็นสาระสำคัญต่องบการเงินของบริษัท ขอบเขตการตรวจสอบ มาตรฐานการรายงานทางการเงินที่จะมีผลบังคับใช้ในปี 2566 เพื่อให้มั่นใจว่าการจัดทำงบการเงินเป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมาย มาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไป และมาตรฐานการรายงานทางการเงินมีการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินอย่างถูกต้อง เพียงพอ ทันเวลา และเป็นประโยชน์กับผู้ใช้งบการเงิน จึงให้ความเห็นชอบต่องบการเงินที่ผู้สอบบัญชีได้สอบทานและตรวจสอบแล้ว ซึ่งปี 2566 ผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นอย่างไม่มีเงื่อนไข
2. การสอบทานระบบการควบคุมภายใน
คณะกรรมการตรวจสอบพิจารณารายงานผลการประเมินความเพียงพอของระบบการควบคุมภายในของสำนักตรวจสอบภายในที่ทำหน้าที่สอบทาน และประเมินความเพียงพออย่างอิสระ และรายงานตรงต่อคณะกรรมการตรวจสอบ รวมทั้งพิจารณาผลการสอบทานทุกไตรมาส ทั้งในด้านการดำเนินงาน การใช้ทรัพยากร การดูแลทรัพย์สิน การป้องกันหรือลดความผิดพลาด เสียหาย และการทุจริตคอร์รัปชัน การปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง และการป้องกันความเสี่ยงด้านสารสนเทศ และนำเสนอรายผลการประเมินความเพียงพอของระบบการควบคุมภายในต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณาอนุมัติในการประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 โดยคณะกรรมการบริษัทมีความเห็นสอดคล้องกับคณะกรรมการตรวจสอบว่าระบบการควบคุมภายในของบริษัทมีความเพียงพอ เหมาะสม โดยบริษัทจัดให้มีระบบการควบคุมภายในตามกรอบแนวทางปฏิบัติของ The Committee of Sponsoring Organizations of the Treadway Commission (COSO) และปี 2566 ไม่พบข้อบกพร่องที่เป็นสาระสำคัญ มีการดูแลรักษาทรัพย์สินอย่างเหมาะสม การดำเนินงานในทุกหน่วยงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สามารถบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้ มีการปฏิบัติตามกฎหมายและข้อกำหนดต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และสามารถควบคุม ป้องกันการทุจริตคอร์รัปชันได้
3. การกำกับดูแลงานตรวจสอบภายใน
คณะกรรมการตรวจสอบกำกับดูแลและสนับสนุนให้สำนักตรวจสอบภายในปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นอิสระ และมีหน้าที่รายงานตรงต่อคณะกรรมการตรวจสอบ โดยได้พิจารณาและอนุมัติแผนงานตรวจสอบภายในประจำปี สอบทานผลการปฏิบัติงานตามแผนงานที่อนุมัติไว้ และพิจารณาผลการตรวจสอบ ข้อเสนอแนะ รวมทั้งติดตามผลการดำเนินการตามข้อเสนอแนะตามประเด็นที่ตรวจพบอย่างสม่ำเสมอ ให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อสำนักตรวจสอบภายใน และสนับสนุนส่งเสริมการพัฒนาความรู้ความสามารถของผู้ปฏิบัติงานในสำนักตรวจสอบภายใน ตลอดจนให้ความเห็นชอบในการพิจารณาแต่งตั้ง โยกย้าย เลิกจ้างหัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายใน ทั้งนี้คณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็นว่าบริษัทมีระบบการตรวจสอบภายในที่เพียงพอ เหมาะสม และมีประสิทธิภาพเป็นไปตามมาตรฐานสากล
4. การสอบทานการกำกับดูแลกิจการที่ดี
คณะกรรมการตรวจสอบได้สอบทานการปฏิบัติงานของบริษัทให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎระเบียบของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจอย่างสมเหตุสมผล รวมถึงภาระผูกพันที่อาจจะเกิดขึ้นจากสัญญาที่กระทำกับบุคคลภายนอก ซึ่งพบว่าบริษัทได้ปฏิบัติตามกฎหมายและข้อกำหนดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างถูกต้อง เหมาะสม และทันเวลา นอกจากนี้ยังคำนึงถึงการปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ส่งเสริมการป้องกันมิให้เกิดการทุจริต หรือคอร์รัปชัน โดยบริษัทจัดให้มีช่องทางการร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแสการทุจริต
5. สอบทานและให้ความเห็นต่อรายการที่เกี่ยวโยงกันหรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ รวมถึงการเปิดเผยข้อมูลของรายการดังกล่าว
คณะกรรมการตรวจสอบได้สอบทานและให้ความเห็นต่อการตกลงเข้าทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน หรือรายการที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ให้เป็นไปตามกฎหมายและข้อกำหนดของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ผลการสอบทานพบว่าบริษัทได้ดำเนินการด้วยความโปร่งใส สมเหตุสมผล และเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทและผู้ถือหุ้นโดยรวม รวมทั้งมีการเปิดเผยข้อมูลสารสนเทศอย่างเพียงพอ ถูกต้อง ครบถ้วน ตามกำหนดเวลา
6. การพิจารณาคัดเลือก เสนอแต่งตั้งผู้สอบบัญชีและค่าตอบแทนผู้สอบบัญชีประจำปี
คณะกรรมการตรวจสอบมีหน้าที่พิจารณาคัดเลือก เสนอแต่งตั้ง เลือกกลับเข้ามาใหม่ หรือเลิกจ้างผู้สอบบัญชีและพิจารณาค่าตอบแทนผู้สอบบัญชีโดยพิจารณาจากความอิสระของผู้สอบบัญชี ความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ ผลงานการตรวจสอบที่ผ่านมา ความเหมาะสมของค่าตอบแทนผู้สอบบัญชี ซึ่งมีความเห็นว่าผู้สอบบัญชีจาก บริษัท สำนักงาน อีวาย จำกัด มีความเป็นอิสระ มีความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ในการปฏิบัติงานสอบบัญชี การให้คำปรึกษาในมาตรฐานการบัญชี การรับรองงบการเงินได้ทันเวลา และค่าตอบแทนผู้สอบบัญชีมีความเหมาะสม จึงมีมติเสนอคณะกรรมการบริษัทพิจารณาและขออนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นในการแต่งตั้งผู้สอบบัญชีจากบริษัท สำนักงาน อีวาย จำกัด เป็นผู้สอบบัญชีประจำปี 2567 โดยกำหนดค่าตอบแทนไม่เกินปีละ 4,877,000 บาท
โดยสรุปคณะกรรมการตรวจสอบปฏิบัติตามหน้าที่และความรับผิดชอบที่ระบุไว้ในกฎบัตรของคณะกรรมการตรวจสอบตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท โดยใช้ความรู้ความสามารถ ความระมัดระวัง รอบคอบ และมีความอิสระอย่างเพียงพอในการให้ความเห็น และข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายอย่างเท่าเทียม และมีความเห็นว่าบริษัทมีการรายงานข้อมูลทางการเงินและการดำเนินงานอย่างถูกต้อง เชื่อถือได้ สอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไปและมาตรฐานการรายงานทางการเงิน มีการบริหารจัดการความเสี่ยง และระบบการควบคุมภายในที่เหมาะสม เพียงพอ และการตรวจสอบภายในที่มีประสิทธิผล มีการปฏิบัติงานที่สอดคล้องตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี รวมทั้งมีการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจอย่างครบถ้วน
( นายวิฑูร เตชะทัศนสุนทร )
ประธานกรรมการตรวจสอบ
ศูนย์บริการข้อมูลรถไฟฟ้า MRT
วันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 07.00-20.00 น.
วันเสาร์-อาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น.
BEM
- รู้จัก BEM
- เกี่ยวกับเรา
- เหตุการณ์สำคัญ
- ข้อมูลพื้นฐาน BEM
- ลักษณะการประกอบธุรกิจ
- สารจากประธานกรรมการบริษัท
- โครงสร้างองค์กร
- คณะกรรมการบริษัท
- คณะกรรมการตรวจสอบ
- คณะกรรมการสรรหาและกําหนดค่าตอบแทน
- คณะกรรมการบรรษัทภิบาล บริหารความเสี่ยง และการพัฒนาอย่างยั่งยืน
- คณะกรรมการบริหาร
- คณะผู้บริหาร
- การกํากับดูแลกิจการ
- คู่มือบรรษัทภิบาล
- วิสัยทัศน์และพันธกิจ
- เป้าหมายและกลยุทธ์ธุรกิจ
- นโยบายบริษัท
- กฎบัตรคณะกรรมการ
- ข้อบังคับบริษัท
- จรรยาบรรณบริษัท
- จรรยาบรรณนักลงทุนสัมพันธ์
- จรรยาบรรณธุรกิจสำหรับคู่ค้า
- ติดต่อเลขานุการบริษัท
- ศูนย์ข้อมูลส่วนบุคคล
- การแจ้งเตือนให้นําข้อมูลคอมพิวเตอร์ออกจากระบบ
- การพัฒนาอย่างยั่งยืน
ข่าวประชาสัมพันธ์
ร่วมธุรกิจกับ BEM
- พัฒนาเชิงพาณิชย์
- จัดซื้อจัดจ้าง
ร่วมงานกับ BEM
- ร่วมงานกับ BEM
สงวนลิขสิทธิ์ © พ.ศ.2561 บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
Member of , APTA and COMET
BANGKOK MRT
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
ตอบรับไลฟ์สไตล์คนเมืองด้วยแอปพลิเคชัน Bangkok MRT ทำให้วางแผนการเดินทางเป็นเรื่องง่ายแค่ปลายนิ้วสำหรับคุณ มีครบทั้งข้อมูลรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสายสีม่วง เช่น แผนที่เส้นทางรถไฟฟ้า แผนผังบริเวณสถานี สิ่งอำนวยความสะดวก ข่าวสารและกิจกรรม พร้อมทั้งฟังก์ชันต่างๆ ให้คุณเลือกใช้อีกเพียบ...