นโยบายการกำกับดูแลกิจการ
บริษัทตระหนักถึงความสำคัญ และประโยชน์ของการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อให้บริษัทมีระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ ช่วยสร้างความเชื่อมั่นและความมั่นใจต่อผู้ถือหุ้น นักลงทุน ผู้มีส่วนได้เสียผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย นำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนของบริษัท โดยบริษัทยึดถือแนวปฏิบัติตามนโยบายการกำกับดูแลกิจการของบริษัทซึ่งเป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการ 8 หมวด คือ
- บทบาทความรับผิดชอบของคณะกรรมการในฐานะผู้นำองค์กร
- ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความตระหนักและเข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบในฐานะผู้นำ กำกับดูแลให้มีการบริหารจัดการที่ดี สร้างคุณค่าให้แก่กิจการอย่างยั่งยืน
- ติดตามดูแลให้กรรมการและผู้บริหารปฏิบัติตามขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบด้วยความรับผิดชอบระมัดระวัง และซื่อสัตย์สุจริต ดำเนินงานตามกฎหมาย ข้อบังคับ และมติการประชุม
- วัตถุประสงค์และเป้าหมายทางธุรกิจของบริษัทเพื่อความยั่งยืน
- กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายทางธุรกิจที่สอดคล้องและสร้างคุณค่าอย่างยั่งยืนให้แก่บริษัท ผู้มีส่วนได้เสีย และสังคม
- ติดตามดูแลการกำหนดกลยุทธ์เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายทางธุรกิจ โดยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้อย่างเหมาะสม
- เสริมสร้างคณะกรรมการที่มีประสิทธิผล
- กำหนดและทบทวนโครงสร้างคณะกรรมการเพื่อให้มีขนาด องค์ประกอบ และสัดส่วนกรรมการอิสระที่เหมาะสม
- มีกระบวนการสรรหาโปร่งใสและชัดเจน
- มีโครงสร้างค่าตอบแทนเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
- มีการส่งเสริมการพัฒนาทักษะความรู้สำหรับการปฏิบัติหน้าที่อย่างสม่ำเสมอ
- มีการกำหนดจำนวนบริษัทจดทะเบียนที่กรรมการบริษัทจะไปดำรงตำแหน่งกรรมการจะต้องไม่เกิน 5 แห่ง เพื่อให้เกิดการปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ
- การสรรหาและพัฒนาผู้บริหารระดับสูงและการบริหารทรัพยากรบุคคล
- มีกระบวนการสรรหาและพัฒนาผู้บริหารระดับสูงให้มีความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ และคุณลักษณะที่จำเป็นต่อการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมาย
- โครงสร้างค่าตอบแทนที่เหมาะสม
- มีการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีจำนวน ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์
- ส่งเสริมนวัตกรรมและการประกอบธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ
- ส่งเสริมและพัฒนาการสร้างวัฒนธรรมการพัฒนานวัตกรรมองค์กร เพื่อเพิ่มคุณค่าให้แก่ธุรกิจตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง โดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียภายใน และผู้มีส่วนได้เสียภายนอก
- ระบบควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม
- ระบบการบริหารความเสี่ยงและระบบการควบคุมภายในมีความเหมาะสม กำกับดูแลการดำเนินงานของบริษัทให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิผล
- จัดการความขัดแย้งและป้องกันการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน ข้อมูล โอกาส และการทำธุรกรรมกับผู้ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวโยง เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
- ความน่าเชื่อถือทางการเงินและการเปิดเผยข้อมูล
- การเปิดเผยข้อมูลสำคัญทางการเงิน และข้อมูลที่มิใช่ข้อมูลทางการเงินมีความถูกต้อง ครบถ้วน เพียงพอ ทันเวลา โปร่งใส ตามกฎเกณฑ์ มาตรฐาน และแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง
- สื่อสารข้อมูลกับผู้มีส่วนได้เสียโดยนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเผยแพร่อย่างเหมาะสม
- ปกป้องข้อมูลที่มีผลต่อราคาหลักทรัพย์ เพื่อให้ข้อมูลที่เปิดเผยสามารถสะท้อนการปฏิบัติหรือการสร้างคุณค่าแก่กิจการอย่างยั่งยืน
- สนับสนุนการมีส่วนร่วมและการสื่อสารกับผู้ถือหุ้น
- กำกับดูแลให้มีกระบวนการสร้างความมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของผู้ถือหุ้นในเรื่องสำคัญของบริษัท
- ส่งเสริมให้ผู้ถือหุ้นได้รับการปฏิบัติและปกป้องสิทธิขั้นพื้นฐาน ให้ผู้ถือหุ้นทุกรายได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน มีมาตรการป้องกันการใช้ข้อมูลภายในเพื่อหาประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่นในทางมิชอบ ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ถือหุ้นโดยรวม
- ส่งเสริมให้ผู้ถือหุ้นได้ใช้สิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ถือหุ้น และดูแลผู้ถือหุ้นมากกว่าสิทธิตามที่กฎหมายกำหนด
- ไม่กระทำการใดๆ อันเป็นการละเมิดหรือลิดรอนสิทธิของผู้ถือหุ้น
นโยบายการบริหารความเสี่ยง
บริษัทตระหนักถึงความสำคัญในการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ เป็นพื้นฐานที่สำคัญต่อความสำเร็จของบริษัท ซึ่งช่วยให้สามารถระบุความไม่แน่นอน คว้าโอกาส สร้างความยืดหยุ่น และเตรียมความพร้อมเชิงรุกเพื่อตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้น และส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจและความกังวลใจของสังคมได้อย่างทันการณ์ บริษัทจึงมุ่งมั่นเพื่อให้มั่นใจว่า
- กระบวนการบริหารความเสี่ยงได้รับการพัฒนาและปรับปรุงอย่างต่อเนื่องตามหลักการและมาตรฐานสากล โดยบูรณาการกระบวนการบริหารความเสี่ยงไปยังการบริหารจัดการและกระบวนการทำงานของบริษัท เพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันทั่วทั้งองค์กร และเป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินใจ การกำหนดกลยุทธ์ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของบริษัทให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมาย พร้อมทั้งสอดคล้องตามนโยบายการดำเนินธุรกิจของบริษัท และส่งเสริมความเชื่อมั่นและความไว้วางใจให้แก่ผู้มีส่วนได้เสีย
- ความเสี่ยงได้รับการประเมินจากทั้งบริบทภายในและภายนอก รวมถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีใหม่ ความท้าทายในการบูรณาการข้อมูล ความพร้อมด้านความต่อเนื่องทางธุรกิจ ซึ่งการประเมินนี้จะกำหนดระดับความเสี่ยงที่บริษัทยอมรับได้ และสร้างความสอดคล้องกันทั่วทั้งองค์กร
- มาตรการจัดการความเสี่ยงได้กำหนดไว้เพื่อเป็นแนวทางหรือกรอบการดำเนินการในการป้องกัน และการจัดสรรทรัพยากร เพื่อลดโอกาสหรือบรรเทาผลกระทบของความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ส่งผลให้บริษัทสามารถตอบสนองต่อเหตุการณ์ ปรับตัวหรือฟื้นตัวได้อย่างเหมาะสมทันการณ์ และผลักดันให้บริษัทบรรลุวัตถุประสงค์ เป้าหมายที่กำหนดไว้
- มาตรการจัดการความเสี่ยงได้ถูกนำไปปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อจัดการความเสี่ยงแบบเชิงรุก และลดความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้
- มีการกำหนดบทบาทที่มีขอบเขตความรับผิดชอบที่ชัดเจนสำหรับทุกขั้นตอนของกระบวนการบริหารความเสี่ยง ตั้งแต่การระบุ และประเมินความเสี่ยงไปจนถึงการลดความเสี่ยง การติดตามผล และการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
- ความเสี่ยงได้รับการติดตาม และประเมินอย่างต่อเนื่องตามความจำเป็นโดยพิจารณาจากการเปลี่ยนแปลงบริบททั้งภายในและภายนอก และรายงานผลอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการปรับปรุงมาตรการลดความเสี่ยงอย่างทันท่วงที
- ได้ดำเนินการสื่อสารความเสี่ยงเพื่อเพิ่มความตระหนักและความเข้าใจในหมู่พนักงาน และผู้มีส่วนได้เสีย เน้นย้ำถึงความสำคัญของกระบวนการบริหารความเสี่ยง และส่งเสริมการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการนำมาตรการความเสี่ยงไปใช้
นโยบายในการต่อต้านการทุจริตและการคอร์รัปชัน
บริษัทตระหนักและให้ความสำคัญในการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน และได้จัดให้มีมาตรการป้องกันการทุจริตทั้งภายในและภายนอก โดยบริษัทได้กำหนดแนวทางและขั้นตอนการปฏิบัติการติดตาม การเฝ้าระวัง แนวทางการทบทวน ประเมินความเสี่ยง และการฝึกอบรมที่เหมาะสมและเป็นปัจจุบันอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ เพื่อให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัททุกคนได้ยึดถือและปฏิบัติอย่างเคร่งครัด โดยบริษัทได้กำหนดเป็นนโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน โดยมีแนวทางปฏิบัติที่สำคัญ ดังนี้
- กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับของบริษัทควรปฏิบัติงานด้วยความเป็นธรรม ซื่อสัตย์สุจริต และโปร่งใสในการดำเนินธุรกิจร่วมกับหน่วยงานต่างๆ และการปฏิบัติงานนั้นต้องถูกต้องตามกฎหมาย นโยบาย ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ หรือขั้นตอนการปฏิบัติที่ถูกต้อง
- ส่งเสริมและสนับสนุนให้ปฏิบัติต่อคู่ค้าอย่างทั่วถึงและเป็นธรรมด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และปฏิบัติตามพันธสัญญาต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของบริษัท
- ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการปลูกจิตสำนึกของกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานให้ละเว้นการทุจริตและตระหนักถึงโทษภัยของการทุจริตคอรัปชัน
- ส่งเสริมและสนับสนุนให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานไม่พึงรับ ยอมจะรับ หรือให้การเลี้ยงรับรอง ของขวัญ และค่าใช้จ่ายอื่นใดที่เกินความจำเป็นและไม่เหมาะสมกับบุคคลที่ทำธุรกิจกับบริษัท
- บริษัทจะจัดให้มีการฝึกอบรมแก่พนักงานเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับนโยบายและแนวปฏิบัติในการต่อต้านการทุจริต
นโยบายการใช้ข้อมูลภายใน
บริษัทได้กำหนดแนวทางการป้องกันการใช้ข้อมูลภายใน โดยมีรายละเอียดดังนี้
- ทั่วไป
เนื่องจากบริษัทเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย การซื้อหรือขายหลักทรัพย์ของบริษัท โดยกรรมการ ผู้บริหารหรือพนักงานของบริษัท ในลักษณะที่เข้าข่ายจะเป็นการเอาเปรียบบุคคลภายนอก โดยอาศัยข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญที่รู้มาจากการปฏิบัติหน้าที่หรือมีตำแหน่งในบริษัทต่อการเปลี่ยนแปลงราคาตลาดของหุ้นหรือหลักทรัพย์ที่ยังมิได้เปิดเผยต่อประชาชนโดยทั่วไปถือเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมในการซื้อขายหลักทรัพย์ และมีความรับผิดตามกฎหมาย
บริษัทจึงได้กำหนดแนวทางการป้องกันการใช้ข้อมูลภายในขึ้น แนวทางดังกล่าวนี้ จะได้มีการปรับปรุงแก้ไข ตามความเหมาะสมเป็นระยะๆ ต่อไป โดยกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัททุกคนจะต้องปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวนี้อย่างเคร่งครัด โดยการใช้สามัญสำนึก เหตุและผลที่พึงปฏิบัติแต่ละกรณีประกอบด้วย แนวทางหรือแนวนโยบายจะมีความเข้มงวดกว่าบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งบริษัทจะนำมาใช้กับกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ตลอดจนบุคคลที่เกี่ยวข้องที่กำหนดไว้ - การซื้อขายหลักทรัพย์โดยใช้ข้อมูลภายใน
- กรรมการและผู้บริหารของบริษัท
- กรรมการและผู้บริหารของบริษัทย่อย รวมถึงบริษัทในเครือ
- พนักงานทุกคนของบริษัท และของบริษัทย่อย ที่ล่วงรู้ข้อมูลภายในของบริษัท
- คู่สมรสและบุตรของกรรมการและผู้บริหาร และพนักงานที่ล่วงรู้ข้อมูลภายในของบริษัท
- เครือญาติที่อาศัยร่วมชายคาเดียวกันของกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานที่ล่วงรู้ข้อมูลภายในของบริษัท
- บุคคลที่ล่วงรู้ข้อมูลภายในของบริษัทไม่ควรซื้อหรือขายหลักทรัพย์ในขณะใดๆ ก็ตาม หากบุคคลดังกล่าวรู้ หรือควรรู้ข้อมูลที่เป็นสาระสำคัญอันอาจส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงราคาตลาดของหลักทรัพย์ของบริษัท ที่ยังมิได้เปิดเผยต่อสาธารณชน
- บุคคลที่ล่วงรู้ข้อมูลภายในของบริษัทซึ่งมีสาระสำคัญดังกล่าว จากการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งและฐานะเจ้าหน้าที่ในบริษัท ต้องไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้ผู้อื่นทราบ ในขณะที่ข้อมูลดังกล่าวยังไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณชน นอกจากเป็นไปตามการปฏิบัติหน้าที่ของตนในบริษัท
- ห้ามบุคคลที่ล่วงรู้ข้อมูลภายในของบริษัทที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการจัดทำงบการเงินและงบดุลบริษัท ทำการซื้อหรือขาย นับแต่เริ่มจัดเตรียมจนถึงสิ้นสุดวันถัดจากวันที่ได้มีการเปิดเผยงบการเงินดังกล่าวแล้ว
- ห้ามกรรมการ ผู้บริหาร หรือพนักงานผู้ใดที่ได้รับร่างงบการเงินดังกล่าวข้างต้น ทำการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ของบริษัท นับแต่วันที่ตนได้รับร่างงบการเงินดังกล่าว จนถึงสิ้นสุดวันที่ได้มีการเผยแพร่ข้อมูลตามงบการเงินนั้นแล้ว
- ห้ามบุคคลที่ล่วงรู้ข้อมูลภายในของบริษัทที่รู้หรือควรรู้ว่าบริษัทจะมีการเผยแพร่ข้อมูลซึ่งมีสาระสำคัญที่อาจมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงราคาตลาดของหลักทรัพย์ของบริษัท ทำการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ นับแต่วันรู้หรือควรรู้ดังกล่าว จนถึงสิ้นสุดวันถัดจากวันที่ได้ทำการเปิดเผยและเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวแล้ว
- หน้าที่การจัดทำรายงาน
กรรมการ กรรมการผู้จัดการ หรือผู้ดำรงตำแหน่งระดับบริหารตามที่พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กำหนดต้องรายงานการถือครองหลักทรัพย์ครั้งแรก และการเปลี่ยนแปลงการถือครองหลักทรัพย์ของตนตามที่กฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกำหนด และรายงาน
ในเรื่องดังกล่าว ต่อบริษัทพร้อมกันด้วย - วิธีการรายงาน
กรรมการ กรรมการผู้จัดการ หรือผู้ดำรงตำแหน่งระดับบริหารตามข้อ 1. ข้างต้น ซึ่งมีหน้าที่ตามกฎหมายต้องจัดทำและส่งรายงานการถือครองหลักทรัพย์ของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ มีหน้าที่ต้องส่งสำเนารายงานที่ส่งให้กับหน่วยงานของรัฐ หรือหน่วยงานกำกับดูแล ต่อบริษัทในวันที่ส่งรายงานดังกล่าว
นโยบายการซื้อขายหลักทรัพย์
บริษัทตระหนักและให้ความสำคัญเกี่ยวกับการกำหนดนโยบาย และวิธีการดูแลกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน เพื่อป้องกันการนำข้อมูลภายในไปใช้ในทางมิชอบ เพื่อเป็นการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างโปร่งใส และเท่าเทียมกันตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และการป้องกันการใช้ข้อมูลภายในโดยมิชอบของบุคคลที่เกี่ยวข้อง บริษัทจึงได้กำหนดนโยบายซื้อขายหลักทรัพย์ ดังนี้
- ให้กรรมการและผู้บริหารหลีกเลี่ยง หรืองดทำการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทในช่วง 1 เดือน ก่อนมีการเปิดเผยงบการเงินรายไตรมาส และงบการเงินประจำปี
- ในกรณีที่กรรมการ ผู้บริหาร หรือพนักงานที่ได้ล่วงรู้ข้อมูลงบการเงิน หรือข้อมูลอื่นใดที่มีผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์ของบริษัท ห้ามไม่ให้ทำการซื้อขาย หรือยินยอมให้ผู้อื่นใช้ข้อมูลดังกล่าวทำการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทในช่วง 1 เดือนก่อนที่ข้อมูลงบการเงิน และ/หรือข้อมูลอื่นใดที่มีผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจะเผยแพร่ต่อสาธารณชน ทั้งนี้ ไม่ว่าเพื่อประโยชน์ต่อตนเองหรือเพื่อผู้อื่น
นโยบายการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์
- กรรมการบริษัทและผู้บริหารต้องแจ้งให้บริษัททราบถึงความสัมพันธ์ หรือรายการเกี่ยวโยงในกิจการที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์
- หลีกเลี่ยงการทำรายการที่เกี่ยวโยงกับกรรมการที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับบริษัท ในกรณีที่จำเป็นต้องทำรายการนั้น ให้มีการนำเสนอรายการที่เกี่ยวโยงกันต่อคณะกรรมการตรวจสอบ เพื่อพิจารณาให้ความเห็นเกี่ยวกับความสมเหตุสมผลและประโยชน์ต่อบริษัทก่อนเสนอขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริษัท ตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และดูแลให้มีการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ และสำนักงาน ก.ล.ต. กำหนด
- ผู้บริหารและพนักงานต้องปฏิบัติตามข้อบังคับของบริษัท และจรรยาบรรณของบริษัท ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องยึดถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด เพื่อให้บริษัทเป็นที่เชื่อถือและไว้วางใจของผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย และจัดให้มีการเผยแพร่ข้อมูลความเข้าใจในการถือปฏิบัติของพนักงานทั่วทั้งบริษัท
นโยบายการรายงานการมีส่วนได้เสีย
บริษัทกำหนดให้กรรมการและผู้บริหารมีการรายงานการซื้อขายหรือถือครองหลักทรัพย์ต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัททุกไตรมาส รวมถึงมีการกำหนดให้กรรมการและผู้บริหารทุกคนต้องรายงานให้บริษัททราบถึงการมีส่วนได้เสียของตนหรือของบุคคลที่มีความเกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการกิจการของบริษัทหรือบริษัทย่อย โดยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการมีส่วนได้เสียของกรรมการและผู้บริหารของบริษัท ตามมาตรา 89/14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ดังนี้
- บริษัทกำหนดให้กรรมการและผู้บริหารมีการรายงานการซื้อขายหรือถือครองหลักทรัพย์ต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัททุกไตรมาส รวมถึงมีการกำหนดให้กรรมการและผู้บริหารทุกท่านต้องรายงานให้บริษัททราบถึงการมีส่วนได้เสียของตนหรือของบุคคลที่มีความเกี่ยวข้อง
- การจัดทำรายงานการมีส่วนได้เสียของกรรมการ ซึ่งเป็นส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการกิจการของบริษัทหรือบริษัทย่อย โดยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการมีส่วนได้เสียของกรรมการและผู้บริหารของบริษัทตามมาตรา 89/14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2551 ดังนี้
- กรรมการและผู้บริหารต้องรายงานให้บริษัททราบถึงการมีส่วนได้เสียของตนหรือของบุคคลที่มีความเกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการกิจการของบริษัทหรือ บริษัทย่อย
- กรณีกรรมการและผู้บริหารที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใหม่ ให้นำส่งแบบแจ้งรายงานการมีส่วนได้เสียของกรรมการและผู้บริหารดังกล่าวครั้งแรก ให้กับเลขานุการบริษัทภายใน 15 วันทำการนับแต่วันที่เข้าดำรงตำแหน่ง
- หากมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลในรายงานการมีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการกิจการของบริษัท หรือบริษัทย่อยของกรรมการและผู้บริหาร ให้กรรมการและผู้บริหารแจ้งและนำส่งแบบแจ้งรายงานการมีส่วนได้เสียของตนหรือของบุคคลที่มีความเกี่ยวข้อง ที่มีการเปลี่ยนแปลงมายังเลขานุการบริษัทภายใน 90 วัน นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลเกี่ยวกับส่วนได้เสียดังกล่าว
- เลขานุการบริษัทต้องจัดส่งสำเนารายงานการมีส่วนได้เสีย ให้ประธาน กรรมการ และประธานกรรมการตรวจสอบทราบภายใน 7 วันทำการนับแต่วันที่บริษัท ได้รับรายงานนั้น
- การแจ้งข้อมูลการถือหุ้นในนิติบุคคลอื่นนั้น ให้กรรมการและผู้บริหาร (นับรวมการถือหุ้นของผู้ที่เกี่ยวข้อง) รายงานการถือหุ้นในนิติบุคคลอื่นในกรณีที่มีการถือหุ้นร่วมกันเกินกว่าร้อยละ 25 ของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของนิติบุคคลนั้น
- การเข้าร่วมประชุมของกรรมการที่มีส่วนได้เสีย
คณะกรรมการมีนโยบายห้ามกรรมการและผู้บริหารซึ่งเป็นบุคคลที่เกี่ยวโยงกัน หรือมีส่วนได้เสียกับเรื่องที่จะพิจารณาเข้าร่วมประชุมหรือออกเสียงในการพิจารณาวาระนั้น
นโยบายการเข้าทำรายการระหว่างกัน
- บริษัทจะปฏิบัติตามข้อกำหนดกฎระเบียบของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ฯ รวมถึงการปฏิบัติตามข้อกำหนดในการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับรายการที่เกี่ยวโยงกัน และการได้มาและจำหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินที่สำคัญของบริษัทหรือบริษัทย่อย และตามมาตรฐานบัญชีที่กำหนดโดยสภาวิชาชีพบัญชี ทั้งนี้ หากมีรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในอนาคต อาทิ การว่าจ้างให้กลุ่มผู้ที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ทำการก่อสร้าง บริหารโครงการ บำรุงรักษา โดยมีคณะกรรมการตรวจสอบร่วมด้วยจะเป็นผู้พิจารณาความจำเป็น และความสมเหตุสมผลของการเข้าทำรายการนั้นๆ ซึ่งรวมถึงการกำหนดราคา และเงื่อนไขการทำรายการว่าเป็นไปตามลักษณะธุรกิจปกติ และพิจารณาเปรียบเทียบการกำหนดราคากับบุคคลภายนอกหรือราคาตลาด โดยที่ผู้มีส่วนได้เสียจะไม่มีส่วนร่วมในการพิจารณาอนุมัติการทำรายการ
- บริษัทไม่มีนโยบายในการให้กู้ยืมหรือค้ำประกันเงินกู้แก่บุคคลที่อาจมีความขัดแย้งตามนิยามของกลต.
- หากคณะกรรมการตรวจสอบไม่มีความชำนาญในการพิจารณารายการระหว่างกันที่อาจเกิดขึ้น บริษัทจะจัดให้มีผู้เชี่ยวชาญอิสระหรือผู้สอบบัญชีของบริษัท เป็นผู้ให้ความเห็นเกี่ยวกับรายการระหว่างกันดังกล่าว เพื่อนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจของคณะกรรมการบริษัท และ/หรือ คณะกรรมการตรวจสอบ หรือผู้ถือหุ้นตามแต่กรณี
- บริษัทจะมีการเปิดเผยรายการระหว่างกันในหมายเหตุประกอบงบการเงินที่ตรวจสอบหรือสอบทานโดยผู้สอบบัญชีของบริษัท
หลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้อตกลงทางการค้าที่มีเงื่อนไขการค้าโดยทั่วไป
คณะกรรมการบริษัทอนุมัติหลักการในการที่บริษัทจะเข้าทำรายการที่เกี่ยวโยงกันที่มีเงื่อนไขการค้าโดยทั่วไป ซึ่งเป็นธุรกรรมที่มีข้อตกลงทางการค้าในลักษณะเดียวกับที่วิญญูชนจะพึงกระทำกับคู่สัญญาทั่วไปในสถานการณ์เดียวกัน ด้วยอำนาจต่อรองทางการค้าที่ปราศจากอิทธิพลในการที่ตนมีสถานะเป็นกรรมการ ผู้บริหาร หรือบุคคลที่มีความเกี่ยวข้อง ในการทำธุรกรรมระหว่างบริษัทและบริษัทย่อย กับกรรมการ ผู้บริหารหรือบุคคลที่มีความเกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้
- การว่าจ้างบริษัทหรือนิติบุคคลซึ่งเป็นบุคคลที่เกี่ยวโยงกันเพื่อทำการซ่อมแซม ปรับปรุงหรือก่อสร้างเพิ่มเติมทางพิเศษและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง หากบริษัทหรือนิติบุคคล ซึ่งเป็นบุคคลที่เกี่ยวโยงกันเป็นผู้เสนอราคา และเงื่อนไขที่เป็นธรรมและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อบริษัท
- การว่าจ้างบริษัท หรือนิติบุคคลซึ่งเป็นบุคคลที่เกี่ยวโยงกันเพื่อดำเนินการซ่อมแซมหรือจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์พร้อมค่าแรง เพื่อบำรุงรักษาอาคารบริหาร และศูนย์ซ่อมบำรุงในอนาคต ซึ่งธุรกรรมเหล่านั้นมีเงื่อนไขทางการค้า และข้อตกลงอื่นไม่ต่างจากคู่ค้าอื่น
- ธุรกรรมระหว่างบริษัทและบริษัทย่อยกับการรถไฟขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ดังนี้
- การให้การสนับสนุนกิจกรรมด้านการโฆษณาประชาสัมพันธ์เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานเกี่ยวกับการให้บริการระบบรถไฟฟ้าในวงเงินไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อปี
- การสนับสนุนนโยบายของภาครัฐ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการเดินทางโดยรถไฟฟ้าในช่วงเวลาที่กำหนดเป็นครั้งคราว โดยการให้ส่วนลดค่าโดยสาร หรือยกเว้นการจัดเก็บค่าโดยสารจากผู้ใช้บริการ ทั้งนี้ โดยมีเงื่อนไขว่า รฟม. จะชดเชยรายได้ในวันเวลาดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ที่เหมาะสมและเป็นธรรม
- การทำธุรกรรมในลักษณะการรับจ้างบริหาร หรือเป็นที่ปรึกษาให้กับนิติบุคคลซึ่งเป็นบุคคลที่ เกี่ยวโยงกัน
- การเช่าพื้นที่อาคารสำนักงานโดยบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และ บริษัทย่อยกับ บมจ.ช.การช่าง เป็นที่ตั้งสำนักงานตามกฎหมาย
- การทำธุรกรรมอื่นซึ่งมีลักษณะเป็นรายการที่เกี่ยวโยงกันที่มีเงื่อนไขการค้าโดยทั่วไปตามนิยามที่กำหนดโดยสำนักงาน ก.ล.ต. หรือ ตลาดหลักทรัพย์ฯ
นโยบายความหลากหลายของคณะกรรมการ
- บริษัทมีความมุ่งมั่นในการกำหนดโครงสร้างของคณะกรรมการบริษัทให้มีความหลากหลายโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อบริษัทและผู้มีส่วนได้เสียจากการดำเนินธุรกิจอย่างรอบด้าน เพื่อเสริมสร้างให้บริษัทมีคณะกรรมการที่ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่บริษัท
- คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน จะทำหน้าที่สรรหากรรมการโดยพิจารณาจากทักษะความรู้ความชำนาญและประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ความรู้ความชำนาญเฉพาะด้าน และความหลากหลายในด้านต่างๆ ทั้งเพศ อายุ เชื้อชาติ สัญชาติ โดยคำนึงถึงความสมดุลระหว่างความหลากหลายในด้านต่างๆ ของคณะกรรมการบริษัท แล้วนำเสนอคณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณาแต่งตั้งหรือนำเสนอที่ประชุมผู้ถือหุ้นพิจารณาแต่งตั้ง ตลอดจนทบทวนและประเมินโครงสร้างของคณะกรรมการบริษัทในเรื่องของความหลากหลาย และรายงานให้คณะกรรมการบริษัททราบเป็นประจำทุกปี
- บริษัทจะพิจารณาสัดส่วนของกรรมการเพศชายและเพศหญิงในคณะกรรมการบริษัทที่เหมาะสม โดยพิจารณาจากความต้องการทางทักษะและประสบการณ์ของคณะกรรมการบริษัทที่อาจเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะการณ์และสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ
หลักเกณฑ์ในการสรรหาบุคคลเพื่อเสนอแต่งตั้งเป็นกรรมการ
1. พิจารณาบุคคลที่มีคุณสมบัติกรรมการอิสระ และ/ หรือ คุณสมบัติกรรมการบริษัทจดทะเบียนสอดคล้องตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชน พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎของ ก.ล.ต. และกฎของตลาดหลักทรัพย์ฯ
2. พิจารณาบุคคลที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชำระเงินและประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจบริการชำระเงิน
5. กรณีที่เป็นกรรมการที่ออกตามวาระจะพิจารณาว่ามีประวัติการปฏิบัติหน้าที่กรรมการด้วยความระมัดระวัง ด้วยความซื่อสัตย์ และสามารถทุ่มเทอุทิศเวลาได้อย่างเต็มที่
6. กรณีตำแหน่งกรรมการที่ว่างลงเป็นตำแหน่งกรรมการซึ่งเป็นผู้แทนจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทยหรือการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยตามเงื่อนไขสัญญาสัมปทาน บุคคลที่จะเสนอแต่งตั้งต้องเป็นบุคคลที่หน่วยงานดังกล่าวเสนอชื่อเพื่อเข้าร่วมเป็นกรรมการบริษัท
โดยคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนจะเสนอชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมดังกล่าวให้คณะกรรมการบริษัทพิจารณาแต่งตั้งหรือพิจารณานำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขออนุมัติแต่งตั้งกรรมการต่อไป
นโยบายการลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วม
- เป็นการลงทุนในโครงการหรือซื้อหุ้นสามัญของบริษัทผู้ดำเนินโครงการในลักษณะการลงทุนระยะยาว
- สัดส่วนการลงทุนตามสัดส่วนขั้นต่ำที่ทำให้บริษัทสามารถมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและติดตามตรวจสอบการดำเนินงานของบริษัทที่ลงทุน
- ไม่ลงทุนในโครงการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรือขัดต่อศีลธรรมอันดีของสังคม
นโยบายการจ่ายเงินปันผล
บริษัท
บริษัทมีนโยบายการจ่ายเงินปันผลไม่ต่ำกว่าร้อยละ 40 ของกำไรสุทธิของแต่ละปี โดยคำนึงถึงผลประกอบการ โครงสร้างและภาระผูกพันทางการเงินการลงทุนตลอดจนความสม่ำเสมอ ในการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น
บริษัทย่อย
บริษัทย่อยของบริษัท มีนโยบายในการจ่ายเงินปันผลในอัตราประมาณร้อยละ 40 ของกำไรสุทธิหลัง หักเงินสำรองต่างๆ ตามกฎหมาย ซึ่งพิจารณาจากผลการประกอบการในรอบปีบัญชีของงบการเงินเฉพาะกิจการ ณ วันสิ้นรอบปีบัญชี และตามเงื่อนไขสัญญาเงินกู้ โดยคณะกรรมการบริษัทจะพิจารณาและเสนอให้ คณะกรรมการบริษัทย่อยพิจารณานำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทย่อยให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแผนการลงทุน ความจำเป็นและความเหมาะสมอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการของบริษัทย่อยเห็นสมควร
นโยบายด้านภาษี
บริษัทมุ่งเน้นเป็นองค์กรที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม ยึดมั่นในการดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใส เป็นธรรม และตรวจสอบได้ บนพื้นฐานการกำกับดูแลกิจการที่ดี รวมทั้งมุ่งเน้นเป็นองค์กรที่ดีในการรับผิดชอบภาษีเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มแก่สังคมและประเทศซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการดำเนินงานด้านความยั่งยืน บริษัทได้กำหนดนโยบายด้านภาษีเพื่อให้มั่นใจว่าการบริหารจัดการด้านภาษีเป็นไปอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ดังนี้
- การปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ
บริษัทจะปฏิบัติตามกฎหมายภาษีที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจอย่างเคร่งครัด และเสียภาษีอย่างถูกต้อง ภายในกำหนดเวลา บริหารจัดการการใช้สิทธิประโยชน์ตามข้อกำหนด ของกฎหมาย และเปิดเผยข้อมูลด้านภาษีตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความโปร่งใส และสร้างความเชื่อมั่น แก่ผู้มีส่วนได้เสีย - การประสานความร่วมมือกับหน่วยงานด้านภาษี
บริษัทจะประสานความร่วมมือและรักษาสัมพันธภาพอันดีกับหน่วยงานภาษีของรัฐบนพื้นฐาน ของความซื่อตรง และความเคารพซึ่งกันและกัน - การสนับสนุนและส่งเสริมบริษัทย่อย
บริษัทจะสนับสนุนและส่งเสริมให้บริษัทย่อยปฏิบัติตามนโยบายด้านภาษี เพื่อให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายภาษีที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจได้อย่างถูกต้อง
นโยบายการเปิดเผยข้อมูล/สารสนเทศ
บริษัทให้ความสำคัญในการกำกับดูแล เพื่อให้มีการเปิดเผยข้อมูลสำคัญของบริษัท ทั้งข้อมูลทางการเงินและข้อมูลที่มิใช่ข้อมูลทางการเงินอย่างถูกต้อง ครบถ้วน เพียงพอ และภายในเวลาที่เหมาะสม แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ผ่านช่องทางที่เข้าถึงข้อมูลได้ง่าย มีความเท่าเทียมกันและน่าเชื่อถือ พร้อมทั้งปกป้องข้อมูลสำคัญที่ยังเป็นความลับ และข้อมูลที่มีผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์ รวมทั้ง มีการสื่อสารให้กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานเข้าใจในการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ มาตรฐาน และแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1. หลักการ
- เปิดเผยข้อมูลที่ชัดเจน ถูกต้อง ครบถ้วน เพียงพอไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง และทันต่อสถานการณ์
- ปฏิบัติตามข้อกำหนด กฎ ระเบียบ หลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- ผู้ที่เกี่ยวข้อง และ/หรือผู้มีส่วนได้เสีย สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างเท่าเทียม
2. ประเภทของข้อมูล/สารสนเทศ
- ข้อมูลทั่วไปของบริษัท
- ข้อมูลทางการเงิน
- ข้อมูลที่ต้องเปิดเผยตามรอบระยะเวลา
- ข้อมูลที่ต้องเปิดเผยตามเหตุการณ์สำคัญ หรือข้อมูลที่มีผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์ ข้อมูลที่มีผลกระทบต่อกระบวนการตัดสินใจของผู้ลงทุนและผู้มีส่วนได้เสียของบริษัทตามหลักเกณฑ์ของสำนักงาน ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ฯ
3. การเผยแพร่ข้อมูลสู่สาธารณะ
- คณะกรรมการจะดำเนินงานด้วยความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ และเปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายพร้อมทั้งดูแลให้มีการเปิดเผยข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับบริษัททั้งข้อมูลทางการเงินและข้อมูลที่มิใช่ข้อมูลทางการเงินอย่างถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลาโปร่งใส ผ่านช่องทางที่เข้าถึงข้อมูลได้ง่าย เพื่อการรับรู้ข้อมูลทั่วถึง เท่าเทียมกันและน่าเชื่อถือ
- คณะกรรมการจะกำกับให้เผยแพร่ข้อมูลตามเกณฑ์ที่กำหนดและผ่านช่องทางของตลาดหลักทรัพย์ฯ นอกจากนี้ คณะกรรมการจะให้มีการเปิดเผยข้อมูลทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษบนเว็บไซต์ของบริษัท และจะกระทำอย่างสม่ำเสมอรวมทั้งปรับปรุงข้อมูลเป็นปัจจุบัน
แนวปฏิบัติในการเปิดเผยข้อมูล / สารสนเทศ
- บริษัทต้องเปิดเผยข้อมูล/สารสนเทศ ให้ผู้ลงทุนทราบโดยทันที เมื่อข้อมูลนั้นจะมีผลต่อราคาซื้อหรือขายหลักทรัพย์ของบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ มีผลกระทบต่อสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหุ้น และเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับผู้ลงทุนและนักวิเคราะห์ที่ใช้วิเคราะห์เพื่อตัดสินใจในการลงทุน
- บริษัทต้องหลีกเลี่ยงการเปิดเผยข้อมูลสำคัญให้กับนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ หนังสือพิมพ์ ผู้ถือหุ้น หรือผ่านช่องทางอื่นๆ แก่บุคคลบางกลุ่ม ยกเว้นว่า บริษัทได้มีการเปิดเผยและเผยแพร่ข้อมูลนั้นต่อผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างทั่วถึงแล้ว
- กรณีที่มีข่าวลือหรือข่าวสารที่ไม่เป็นจริง มีข้อมูลผิดพลาดหรือมีข่าวที่คลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริงซึ่งบริษัทได้เผยแพร่ให้ผู้ลงทุนและผู้ที่เกี่ยวข้องทราบแล้ว บริษัทต้องออกประกาศปฏิเสธข่าวลือหรือข่าวสารนั้น พร้อมทั้งชี้แจงให้ทราบถึงข้อเท็จจริงที่เพียงพอเพื่อให้เกิดความชัดเจน ถูกต้องตรงกับข้อเท็จจริง
- กรณีที่มีข่าวลือหรือข่าวสารเกี่ยวกับการคาดคะเนผลกำไรหรือข้อมูลอื่นซึ่งเป็นเหตุการณ์ในอนาคตโดยตั้งบนสมมติฐานของข้อมูลที่ผิดพลาด หรืออ้างอิงแหล่งข้อมูลบริษัทผิดพลาด บริษัทต้องดำเนินการเช่นเดียวกับกรณีที่มีข่าวลือหรือข่าวสารที่ไม่เป็นจริง
- บริษัทต้องเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องต่อประชาชนโดยทันที หากภาวะการซื้อขายที่ผิดปกติเกิดจากการรั่วไหลของข้อมูลที่ยังไม่ได้เปิดเผย
- กำหนดผู้รับผิดชอบในการเปิดเผยข้อมูลสำคัญต่อสาธารณะ ดังนี้
- ประธานกรรมการบริหาร
- กรรมการผู้จัดการ
- รองกรรมการผู้จัดการ งานบัญชีและการเงิน
- เลขานุการบริษัท ทำหน้าที่เปิดเผยข้อมูลสำคัญต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ สำนักงาน ก.ล.ต. และหน่วยงานกำกับที่เกี่ยวข้อง ภายใต้อำนาจอนุมัติของกรรมการผู้จัดการ
- บุคคลที่ได้รับมอบหมายจากประธานกรรมการบริหาร หรือกรรมการผู้จัดการ หรือรองกรรมการผู้จัดการ (เฉพาะเรื่องที่ได้รับมอบหมาย)
- หน่วยงานนักลงทุนสัมพันธ์ ทำหน้าที่ในการสื่อสารข้อมูลสำคัญต่อนักวิเคราะห์ นักลงทุน ผู้ถือหุ้น โดยมีผู้บริหารระดับสูงร่วมให้ข้อมูลและตอบข้อซักถาม
- หน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจากประธานกรรมการบริหาร หรือกรรมการผู้จัดการในการทำหน้าที่สื่อสารข้อมูลสำคัญต่อสื่อมวลชนทั้งสื่อออนไลน์/ออฟไลน์ และสื่อ Social เพื่อให้สื่อมวลชนได้รับรู้ข้อมูลบริษัทอย่างถูกต้อง (เฉพาะเรื่องที่ได้รับมอบหมาย)
- ระบบการส่งข่าวของตลาดหลักทรัพย์ฯ (ระบบ SETLink : www.setlink.set.or.th) ซึ่งเป็นช่องทางหลักเพื่อเปิดเผยข้อมูลให้ผู้ลงทุนได้รับสารสนเทศอย่างเท่าเทียมกัน
- ระบบการส่งรายงานของสำนักงาน ก.ล.ต. เพื่อเปิดเผยรายงานสำคัญตามกฎ ระเบียบ และหลักเกณฑ์ในการเปิดเผยข้อมูล
- ว็บไซต์บริษัท (www.bemplc.co.th) เพื่อเปิดเผยข้อมูลทั่วไปของบริษัท ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน
- การพบปะนักวิเคราะห์ผ่านกิจกรรมของตลาดหลักทรัพย์ฯ เช่น กิจกรรม Opportunity Day Roadshow, Company Visit, Analyst meeting การร่วมออกบูธในงานต่างๆ
- การประชุมผ่านทางโทรศัพท์ (Conference Call)
- การแถลงข่าว (Press Conference)
- การให้สัมภาษณ์ (Press Interview)
- สื่ออื่นๆ อาทิ Line Official, Facebook ระบบ Intranet ประกาศ การประชาสัมพันธ์
นโยบายเกี่ยวกับแผนการสืบทอดตำแหน่ง
- บริษัทมีการจัดทำแผนการสืบทอดตำแหน่ง (Succession Plan) สำหรับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการและผู้บริหารระดับสูง และตำแหน่งงานในสายงานหลัก โดยพิจารณาจากผลการปฏิบัติงาน ศักยภาพและความพร้อมของแต่ละบุคคลเป็นหลัก
- จัดให้มีการเตรียมความพร้อมสำหรับบุคคลที่เป็น Successor ในการพัฒนาความรู้ ความสามารถ และทักษะที่จำเป็นตามตำแหน่งงาน เพื่อสืบทอดงานในกรณีที่กรรมการผู้จัดการ หรือผู้บริหารในตำแหน่งสำคัญไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
- บริษัทมีการจัดทำแผนการสืบทอดตำแหน่งผู้บริหารในระดับต่างๆ โดยเฉพาะผู้บริหารและตำแหน่งในสายงานหลัก ซึ่งเน้นการสรรหาจากบุคลากรภายในองค์กร โดยกำหนดให้มีการพิจารณาเลื่อนตำแหน่งตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด เพื่อพัฒนาบุคลากรที่มีผลการปฏิบัติงานที่ดีและมีศักยภาพได้เติบโตในตำแหน่งที่สูงขึ้นตามลำดับขั้นของพนักงานทั้งผู้บริหารระดับกลางและพนักงานโดยคณะกรรมการพิจารณาประกอบด้วยกรรมการผู้จัดการและผู้บริหารระดับผู้อำนวยการฝ่ายขึ้นไป หรือผู้บริหารระดับกลางเป็นผู้พิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน
- ผู้บริหารที่ได้รับการกำหนดให้เป็นบุคลากรที่จะสืบทอดตำแหน่ง นอกจากจะต้องเป็นผู้ที่พร้อมด้วยคุณสมบัติและประสบการณ์การทำงานในสายงานที่เหมาะสมแล้ว ยังต้องได้รับการถ่ายทอดความรู้ประสบการณ์ด้วยการหมุนเวียนปฏิบัติงานในหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง และเข้ารับอบรมตามหลักสูตรการฝึกอบรมที่จำเป็นเพิ่มเติม เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งที่สูงขึ้นไปในอนาคต และเพื่อให้มีการส่งมอบงานเป็นไปอย่างราบรื่น และการบริหารงานอย่างต่อเนื่อง
นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ
ความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ เป็นส่วนสำคัญในการสนับสนุนการดำเนินธุรกิจของบริษัทให้เกิดประสิทธิภาพ และเป็นที่น่าเชื่อถือ บริษัทจึงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาระบบการรักษาความปลอดภัยด้านสารสนเทศ ตามหลักการสำคัญคือ การธำรงไว้ซึ่งการรักษาความลับของข้อมูล (Confidentiality) ความถูกต้องครบถ้วน (Integrity) และความสมบูรณ์พร้อมใช้ (Availability) เพื่อนำไปปฏิบัติ และให้มั่นใจได้ว่า
- ผู้ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น ที่สามารถจะเข้าถึงระบบ ข้อมูลหรือสถานที่จัดเก็บข้อมูลระบบสารสนเทศได้
- มีการควบคุมการเข้ารหัสรักษาความลับของข้อมูลที่สำคัญอย่างเหมาะสม
- มีการป้องกันด้านความมั่นคงปลอดภัยทางกายภาพและสภาพแวดล้อม ให้ระบบสารสนเทศมีความปลอดภัย และพร้อมใช้งานอยู่เสมอ
- ระบบสารสนเทศ มีความถูกต้อง เชื่อถือได้
- มีการตรวจสอบ ติดตามและประเมินผลความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศอย่างสม่ำเสมอ
- มีกระบวนการจัดการเหตุการณ์ด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ จัดทำแผน ดำเนินการฝึกซ้อม และปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เพื่อเตรียมความพร้อมกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน
- มีการส่งเสริมให้พนักงานมีความรู้ ความสามารถที่เหมาะสม และมีจิตสำนึกเกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง
อนึ่ง ความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ ถือเป็นความรับผิดชอบของทุกคน ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของพนักงานและบุคคลภายนอกที่ได้รับอนุญาตให้ใช้งานระบบสารสนเทศของบริษัทต้องดำเนินการในทุกวิถีทางเพื่อทำให้เกิดความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศของบริษัท
นโยบายการกำกับดูแลและจัดการข้อมูล
บริษัทตระหนักและให้ความสำคัญในการกำกับดูแลและจัดการข้อมูล โดยได้กำหนดนโยบายในการกำกับดูแลและจัดการข้อมูลให้มีมาตรการ และวิธีการปฏิบัติเพื่อให้ครอบคลุมตั้งแต่การได้มาของข้อมูล การจัดชั้นความลับข้อมูล การจัดเก็บข้อมูล การเข้าถึงข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การแลกเปลี่ยนข้อมูล การทำลายข้อมูล การรักษาความปลอดภัย จนกระทั่งการนำไปใช้ โดยนโยบายนี้ให้มีความหมายรวมถึงขั้นตอน กระบวนการ พนักงาน และเทคโนโลยี เพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลที่บริษัทได้มาแล้วมีการคุ้มครองอย่างเข้มงวด เป็นระบบ ตามมาตรฐาน และปฏิบัติได้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ ดังนี้
- ระบุถึงแหล่งที่มาของข้อมูลและผู้รับผิดชอบ เพื่อจัดความเสี่ยงและจัดชั้นความลับของข้อมูลได้
- รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลตามประเภทและชนิดของข้อมูล ด้วยขั้นตอน วิธีการ กระบวนการ และเทคโนโลยีที่มีความปลอดภัยอย่างเหมาะสม
- ระบุความเชื่อมโยงของการได้มาของข้อมูล การใช้งานข้อมูล และการทำลายข้อมูล รวมถึงระบุสถานะการจัดเก็บข้อมูล เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ
- กำหนดขั้นตอนการเข้าถึงข้อมูล และเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่เหมาะสม โปร่งใส และมีความปลอดภัยตามระดับชั้นความลับของข้อมูล รวมถึงตรวจสอบความครบถ้วน ความถูกต้อง และความพร้อมใช้งานของข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ
- เปิดเผยข้อมูลให้แก่ผู้ปฏิบัติงานของบริษัทที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น และไม่เปิดเผยข้อมูลให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลก่อน หรือเว้นแต่เป็นกรณีที่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย
- เก็บรักษาข้อมูล หรือทำลายข้อมูล ด้วยวิธีการที่เป็นมาตรฐานอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตามนโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศของบริษัท
- ส่งเสริมให้พนักงานหรือผู้ปฏิบัติงานมีความรู้ ความสามารถที่เหมาะสม และมีจิตสำนึกที่ดี เกี่ยวกับการกำกับดูแลและจัดการข้อมูล
- กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการต่างๆขึ้นมาใหม่ในการกำกับดูแลและจัดการข้อมูลได้ เพื่อให้สอดคล้องกับแนวธุรกิจ และเป็นไปตามธรรมาภิบาล
นโยบายการส่งเสริมนวัตกรรม
บริษัทดำเนินธุรกิจโดยยึดมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม จึงตระหนักและมุ่งมั่นในการส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมของบริษัท ดังนี้
- ส่งเสริมการปรับปรุงกระบวนการทำงาน และนวัตกรรมที่ก่อให้เกิดมูลค่าต่อการดำเนินธุรกิจให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งในปัจจุบันและอนาคต เป็นไปตามข้อกำหนด กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ควบคู่กับการดำเนินการอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
- สร้างความเข้าใจให้พนักงานตระหนักถึงความสำคัญในการปรับปรุงกระบวนการทำงาน และพัฒนานวัตกรรม ส่งเสริมการเรียนรู้ เพิ่มทักษะในการคิดสร้างสรรค์ สนับสนุนทรัพยากร ช่วงเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์ และจัดสรรงบประมาณอย่างเหมาะสม ในการปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่องและสรรสร้างนวัตกรรม
- เสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร สร้างบรรยากาศและเวทีให้พนักงานมีส่วนร่วมในการแสดงออกทางความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในการปรับปรุงกระบวนการทำงานและพัฒนา ต่อยอดความคิดก่อให้เกิดนวัตกรรม เพื่อเพิ่มคุณค่าทางธุรกิจ พร้อมทั้งสร้างประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการ ผู้ใช้ทาง และผู้มีส่วนได้เสีย
นโยบายการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน
บริษัทได้กำหนดนโยบายการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานที่จะปฏิบัติ และดำเนินการ เพื่อให้บรรลุพันธกิจของบริษัท โดยคำนึงถึงการกำกับดูแลกิจการที่ดี ตลอดจนมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ให้ครอบคลุมการดำเนินธุรกิจต่อผู้มีส่วนได้เสีย อย่างโปร่งใส ซื่อสัตย์ และเป็นธรรม ควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ดังนี้
- มุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืน ภายใต้จริยธรรมการดำเนินธุรกิจของบริษัท และข้อบังคับทางกฎหมาย โดยคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างความร่วมมือ ความเชื่อมั่นและคุณค่า ต่อคู่ค้าคู่สัญญาทางธุรกิจของบริษัทตลอดห่วงโซ่อุปทาน
- กำหนดจรรยาบรรณธุรกิจสำหรับคู่ค้า (Supplier Code of Conduct) ที่ครอบคลุมประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสังคมสิทธิมนุษยชนและแรงงาน และด้านจริยธรรมทางธุรกิจ เพื่อเป็นกรอบในการดำเนินธุรกิจร่วมกับบริษัท และสนับสนุนให้คู่ค้า มีการดำเนินงานอย่างมีจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคม
- กำหนดกลยุทธ์ในการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน ที่มั่นใจว่าการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ตลอดห่วงโซ่อุปทาน จะเป็นไปด้วยความโปร่งใส เป็นธรรม ตรวจสอบได้ ถูกต้องตามกฎหมาย ข้อบังคับ ข้อกำหนดต่างๆ และมีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ ตลอดจนมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
- กำหนดกรอบในการบริหารจัดการคู่ค้า โดยระบุหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนเพื่อคัดกรองคู่ค้า จำแนกคู่ค้ารวมถึงระบุคู่ค้าสำคัญของบริษัท เพื่อให้สามารถบริหารจัดการกับคู่ค้าแต่ละกลุ่มได้อย่างเหมาะสม
- ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างและทำสัญญาอย่างโปร่งใส เสมอภาค และเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ตามข้อตกลงร่วมกัน สอดคล้องและเป็นไปตามนโยบายการจัดซื้อจัดจ้าง และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และหลักสิทธิมนุษยชน รวมถึงเปิดโอกาสให้คู่ค้ามีเสรีภาพในการแข่งขันและการเจรจาต่อรอง
- ดำเนินการประเมินผลงานการดำเนินการ และประเมินความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และบรรษัทภิบาลของคู่ค้า เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่อการดำเนินธุรกิจ และชื่อเสียงของบริษัท
- ติดตามการปฏิบัติตามจรรยาบรรณธุรกิจสำหรับคู่ค้าด้วยวิธีตรวจประเมินที่เหมาะสม เช่น การตรวจประเมินตนเองของคู่ค้า หรือการตรวจประเมิน ณ สถานประกอบการของคู่ค้า เป็นต้น
- ให้ความสำคัญในการส่งเสริมและพัฒนาคู่ค้า โดยกำหนดระยะเวลาชำระเงินให้แก่คู่ค้าอย่างเป็นธรรม รวมถึงสนับสนุนจัดการฝึกอบรมให้ความรู้ คำแนะนำ และร่วมมือกับคู่ค้าในการพัฒนาความสามารถเพื่อให้ปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องตามกฎระเบียบ เกิดความปลอดภัยในการทำงาน และประสิทธิภาพการทำงานของคู่ค้า
- เปิดเผยข้อมูลการดำเนินการด้านการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืนตามมาตรฐานสากล
นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
- “ข้อมูลส่วนบุคคล”
- การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลอย่างจำกัด
- วัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวม และใช้ข้อมูลส่วนบุคคล
- การใช้ และ/หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
- การรักษาความมั่นคงปลอดภัย
- การปฏิบัติตามนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและการติดต่อกับบริษัท
เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Officer : DPO)
บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
ธุรกิจทางพิเศษ
|
เลขที่ 238/7 ถนนอโศก-ดินแดง แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310 |
โทร (02) 641 4611 | |
ธุรกิจรถไฟฟ้า | เลขที่ 189 ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310 |
โทร (02) 624 5200 | |
Email address : | DPO@bemplc.co.th |
นโยบายการไม่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
บริษัทเคารพและยึดมั่นในสิทธิความเป็นเจ้าของในทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น และจะนำมาใช้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมจากเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาเท่านั้น บริษัทจึงมีนโยบายห้ามการดำเนินการที่มีลักษณะเป็นการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาทุกประเภท โดยมีแนวปฏิบัติดังนี้
- พนักงานทุกคน มีหน้าที่ปกป้องและรักษาความลับอันเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาของบริษัทเพื่อ มิให้ข้อมูล เหล่านั้นรั่วไหล และต้องไม่นำทรัพย์สินทางปัญญาประเภทต่างๆ ของบริษัทไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัวหรือเพื่อบุคคลอื่นโดยมิได้รับอนุญาต
- พนักงานทุกคนต้องเคารพและให้เกียรติทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น และไม่นำผลงานอันมีทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่นไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วนของผลงานไปใช้โดยที่ไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของผลงาน
นโยบายการรู้จักลูกค้า สำหรับการใช้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์
บริษัทตระหนักถึงหน้าที่และให้ความสำคัญกับหลักเกณฑ์การรู้จักลูกค้า จึงได้กำหนดนโยบายการรู้จักลูกค้า สำหรับการใช้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติระบบการชำระเงิน พ.ศ. 2560 และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2563 เรื่องหลักเกณฑ์การรู้จักลูกค้า สำหรับการเปิดใช้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ เกี่ยวกับการแสดงตนของลูกค้า การพิสูจน์ตัวตนลูกค้า และการยืนยันตัวตนลูกค้า รวมถึงพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ 2542 และกฎกระทรวงการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า พ.ศ. 2563 เพื่อเสริมสร้างสภาพแวดล้อมของการรู้จักลูกค้าให้มีความปลอดภัยน่าเชื่อถือตามระดับความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์และช่องทางการใช้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ ดังนี้
- จัดให้มีมาตรการการแสดงตนของลูกค้าและการพิสูจน์ตัวตนลูกค้าซึ่งเป็นผู้มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษัท โดยต้องจัดให้ลูกค้าแสดงข้อมูลและหลักฐานในการแสดงตนแก่พนักงานของบริษัท รวมถึงช่องทางอื่นที่บริษัทกำหนด ก่อนการทำธุรกรรม เว้นแต่ลูกค้าได้ทำการแสดงตนไว้ก่อนแล้ว
- จัดเก็บข้อมูลการแสดงตนของลูกค้าให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายและระเบียบของบริษัทกำหนด โดยการใช้ข้อมูลจะต้องใช้ตามเจตนารมณ์และวัตถุประสงค์ของบริษัทเท่านั้น
- เก็บรักษาข้อมูลลูกค้าให้มีความพร้อมใช้งานอย่างสม่ำเสมอ โดยกำหนดขั้นตอน/ช่องทางการยืนยันตัวตนของลูกค้า รวมถึงการเข้าถึง แก้ไขเปลี่ยนแปลงและลบข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าที่เหมาะสม และมีความปลอดภัยตามนโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศของบริษัท
- ส่งเสริมให้พนักงานหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานให้มีความรู้ความสามารถที่เหมาะสม เกี่ยวกับขั้นตอน วิธีการ รวมถึงปฏิบัติตามนโยบายฉบับนี้
อนึ่ง นโยบายการรู้จักลูกค้า สำหรับการใช้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ ถือเป็นความรับผิดชอบของบริษัท ดังนั้นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจำเป็นต้องปฏิบัติตาม และให้การสนับสนุน เพื่อให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
นโยบายด้านความหลากหลายทางชีวภาพ และการไม่ตัดไม้ทำลายป่า
- ให้ความสำคัญในการบริหารจัดการผลกระทบด้านความหลากหลายทางชีวภาพ การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและทรัพยากรป่าไม้ รวมถึงการส่งเสริมการใช้ประโยชน์ ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน
- ดำเนินธุรกิจที่ไม่ก่อให้เกิดความสูญเสียต่อความหลากหลายทางชีวภาพสุทธิ (No Net Loss) รวมทั้งสนับสนุนโครงการหรือกิจกรรมที่สร้างผลกระทบเชิงบวกสุทธิ (Net Positive Impact : NPI) ต่อความหลากหลายทางชีวภาพหรือไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ป่าไม้ ทุกพื้นที่การให้บริการ และ/หรือสถานประกอบการอย่างต่อเนื่อง
- หลีกเลี่ยงการดำเนินงานโครงการหรือกิจกรรมตลอดห่วงโซ่คุณค่าธุรกิจ บนพื้นที่คุ้มครองหรือพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพที่สำคัญหรือบริเวณใกล้เคียง รวมถึงพื้นที่ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อป่าไม้ ตามประกาศหรือสนธิสัญญา หรือข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งในระดับประเทศ และระดับสากล
- ประเมินความเสี่ยงด้านความหลากหลายทางชีวภาพของพื้นที่การให้บริการ และพื้นที่ภายใต้ความรับผิดชอบของบริษัทอย่างสม่ำเสมอ ทั้งในพื้นที่ที่กำลังดำเนินการและพื้นที่โครงการที่จะดำเนินการใหม่
- กำหนดแผนการบริหารจัดการด้านความหลากหลายทางชีวภาพ โดยใช้แนวทางบรรเทาผลกระทบตามลำดับชั้น (Mitigation Hierarchy) ได้แก่ หลีกเลี่ยง (Avoid) การลด (Reduce) การฟื้นฟู (Restore) และการชดเชย (Offset) ต่อระบบนิเวศ และความหลากหลายทางชีวภาพ
- ติดตามและประเมินผลการบริหารจัดการด้านความหลากหลายทางชีวภาพและการไม่ตัดไม้ทำลายป่า ตลอดห่วงโซ่คุณค่าธุรกิจอย่างทั่วถึง รวมถึงรายงานผลการดำเนินการตามโครงสร้างการกำกับดูแลอย่างเหมาะสม
- สร้างความตระหนักรู้และสนับสนุนการมีส่วนร่วมของพนักงานและผู้มีส่วนได้เสีย ตลอดห่วงโซ่คุณค่าธุรกิจของบริษัท ในการอนุรักษ์และส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพ และการไม่ตัดไม้ทำลายป่า
นโยบายสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ
บริษัทดำเนินธุรกิจโดยยึดมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม จึงมุ่งมั่นพัฒนาระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตามหลักการและมาตรฐานสากลอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความยั่งยืน โดยครอบคลุมถึงการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียของบริษัท ดังนี้
- ผสานรวมโครงการรณรงค์ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและกลยุทธ์การจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืนเข้าไปในกระบวนการดำเนินงาน เพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อม
- ป้องกันและควบคุมมลพิษที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจ เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ และมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์
- สรรหา คัดเลือกและบริหารจัดการทรัพยากร อย่างมีประสิทธิผล ผสานรวมกลยุทธ์การป้องกันและควบคุมเชิงรุก เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรสูงสุด มุ่งสู่การดำเนินงานอย่างยั่งยืน
- ให้มั่นใจว่าการดำเนินธุรกิจสอดคล้องตามกฎหมาย ข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง
- ให้มั่นใจว่าระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้รับการทบทวนอย่างสม่ำเสมอและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องและปรับตัวเข้ากับบริบททางธุรกิจ ประเด็นสำคัญ และสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง รวมถึงป้องกันและรักษาความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ
- สื่อสารนโยบาย แนวปฏิบัติ การบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ให้แก่พนักงาน และผู้ส่งมอบที่สำคัญ เพื่อส่งเสริมความรู้ ความตระหนัก และการมีส่วนร่วมตลอดห่วงโซ่คุณค่าของบริษัทฯ
นโยบายสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศฉบับนี้ ถือเป็นความรับผิดชอบของพนักงานทุกคน รวมถึงคู่ค้า ผู้ส่งมอบ คู่ความร่วมมือที่สำคัญของบริษัท ที่จะนำไปปฏิบัติอย่างจริงจังและสม่ำเสมอ เพื่อให้มีคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีสำหรับทุกคนในห่วงโซ่คุณค่าของบริษัท รวมถึงลูกค้า พนักงาน ผู้มีส่วนได้เสีย และชุมชนโดยรอบ
นโยบายคุณภาพ
- มุ่งเน้นลูกค้า
- มุ่งมั่นสร้างความพึงพอใจ : ให้บริการทางด่วนและรถไฟฟ้าที่ตอบสนองต่อความคาดหวังของลูกค้า
- การเดินทางที่ปลอดภัยและเชื่อถือได้ : มุ่งเน้นความปลอดภัย สะดวก รวดเร็ว เชื่อถือได้ และตรงต่อเวลาของระบบทางด่วนและรถไฟฟ้า
- การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง : มุ่งแสวงหาข้อเสนอแนะและนำไปพัฒนาบริการเพื่อยกระดับประสบการณ์ของลูกค้า
- ความเป็นเลิศและประสิทธิภาพ
- การจัดการคุณภาพ : พัฒนาและปรับปรุงระบบการจัดการคุณภาพอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล
- ประสิทธิภาพในการดำเนินงาน : ปรับปรุงกระบวนการต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในทุกระดับองค์กร
- การพัฒนาและการมีส่วนร่วมของพนักงาน
- ความรู้และทักษะ : เสริมสร้างความรู้ ทักษะ และความสามารถที่จำเป็นให้แก่พนักงาน เพื่อปฏิบัติหน้าที่อย่างปลอดภัยและให้บริการที่ดีเยี่ยม
- การเสริมพลังและความมุ่งมั่น : สร้างวัฒนธรรมแห่งความเป็นเจ้าของและการมีส่วนร่วม กระตุ้นให้พนักงานมีส่วนร่วมในกิจกรรมการปรับปรุงคุณภาพ
- การสร้างคุณค่าร่วมกัน
- มุ่งเน้นผู้มีส่วนได้เสีย : รับทราบและตอบสนองความต้องการ และความปรารถนาของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม รวมถึงลูกค้า พนักงาน ผู้ถือหุ้น และชุมชน
- แนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืน : นำแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนมาใช้ในทุกขั้นตอนของการดำเนินงานลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด และสร้างผลลัพธ์เชิงบวกต่อสังคม
นโยบายด้านความรับผิดชอบต่อสังคม และการพัฒนาอย่างยั่งยืน
บริษัทมีความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจ ตามหลักการความยั่งยืนที่ก่อให้เกิดความสมดุล ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยคำนึงถึงการกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้ง มุ่งประสานประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้เสียในทุกมิติและทุกกลุ่มเป็นสำคัญอย่างเหมาะสม ดังนี้
- การนำองค์กรด้วยแนวคิดด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน ผ่านการสื่อสารและการแลกเปลี่ยนวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมดของบริษัท
- ดำเนินการให้แนวคิดด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นหนึ่งเดียวกับทุกกระบวนการทำงาน และกระบวนการตัดสินใจของบริษัท
- ปฏิบัติตามนโยบายการกำกับดูแลกิจการ และนโยบายการบริหารความเสี่ยง รวมถึงนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของบริษัท ตลอดจนคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม/ชุมชนที่เกี่ยวข้อง
ทั้งด้านสิทธิมนุษยชน ความปลอดภัยและสุขอนามัย ตลอดห่วงโซ่คุณค่าธุรกิจของบริษัท - ส่งเสริมการฝึกอบรม การให้ความรู้ และการให้คำแนะนำ ที่มุ่งเน้นวิธีปฏิบัติตามแนวทางด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน
- สนับสนุนการดำเนินงาน และสร้างความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน
- ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของบริษัท เพื่อการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนตามมาตรฐานสากล ไปยังผู้มีส่วนได้เสีย
นโยบายการพัฒนาบุคลากร
- บริษัทมีนโยบายด้านการสรรหา พัฒนา และรักษาบุคลากรของบริษัท ด้วยการให้ค่าตอบแทนในรูปของเงินเดือน สวัสดิการและผลตอบแทนอื่นๆ ในเกณฑ์ที่สามารถแข่งขันได้ในธุรกิจประเภทเดียวกัน
- บริษัทถือว่าพนักงานคือทรัพยากรที่มีค่าของบริษัท โดยทรัพยากรบุคคลเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งประการหนึ่งที่จะทำให้องค์กรสามารถพัฒนาไปได้อย่างก้าวหน้า มีศักยภาพในการแข่งขัน และทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ของบริษัท ทั้งนี้ บริษัทได้ให้ความสำคัญกับการสร้างและพัฒนาบุคลากรจากภายใน ด้วยการจัดฝึกอบรมและทบทวนการปฏิบัติงานให้แก่บุคลากรอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการจัดส่งพนักงานไปดูงานและฝึกอบรมทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสร้างจิตสำนึกและการฝึกอบรมในเรื่องความปลอดภัยในการให้บริการ โดยพนักงานของบริษัทจะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยของบริษัท และตามมาตรฐานสากลโดยเคร่งครัด
- บริษัทได้จัดให้มีระบบบริหารงานบุคคลที่มีประสิทธิภาพบนพื้นฐานของความเป็นธรรม เสมอภาคและเปิดโอกาสให้พนักงานได้พัฒนา และใช้ศักยภาพของตนเองอย่างเต็มขีดความสามารถ
- บริษัทให้ความสำคัญกับการสร้างขวัญกำลังใจ และความภูมิใจในการปฏิบัติงานให้กับพนักงาน ด้วยการกำหนดระบบผลตอบแทนและความเจริญก้าวหน้าในอาชีพการงานบนพื้นฐานของความรู้ ความสามารถ และความเป็นธรรม รวมทั้งจัดให้ระบบสวัสดิการที่เหมาะสม ตลอดจนพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของพนักงานให้ดีขึ้น เพื่อธำรงไว้ซึ่งทรัพยากรบุคคลอันมีค่าของบริษัท
- การรักษาบุคลากรที่มีศักยภาพไว้กับบริษัทบริษัทมีการดูแลพนักงานที่มีความสามารถและมีศักยภาพสูงในการทำงาน ให้โอกาสในการก้าวหน้าในสายอาชีพ หรือ Career Path
นโยบายด้านสิทธิมนุษยชน
บริษัทกำหนดให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชน หรือศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยไม่แบ่งแยกเชื้อชาติ สีผิว เพศ เพศสภาพ กลุ่มเปราะบาง หรือความพิการ ภาษา ศาสนา สังคม ทรัพย์สิน ถิ่นกำเนิด ความคิดเห็นทางการเมือง หรือสถานะอื่นๆ รวมถึงตระหนักในสิทธิหน้าที่และความรับผิดชอบของตนที่มีต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มตลอดห่วงโซ่คุณค่าธุรกิจ โดยเฉพาะพนักงาน ลูกค้า คู่ค้า (ผู้รับเหมา ผู้ส่งมอบ และ/หรือพันธมิตร) ชุมชนและสังคม ตลอดจนส่งเสริมความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ที่จะไม่สนับสนุนหรือเข้าไปมีส่วนร่วมในการละเมิดสิทธิมนุษยชน ทั้งนี้ บริษัทยึดมั่นตามหลักสิทธิมนุษยชนซึ่งเป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับระดับสากล อาทิ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights : UDHR) ข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (United Nations Global Compact : UNGC) หลักการชี้แนะเรื่องสิทธิมนุษยชนสำหรับธุรกิจแห่งสหประชาชาติ (United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights : UNGP) ปฏิญญาว่าด้วยหลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO Declaration on Fundamental Principles and Rights at Work) และระเบียบการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป (General Data Protection Regulation : GDPR) โดยมีแนวทางในการปฏิบัติ ดังนี้
- บริษัทปฏิบัติตามกฎหมายและหลักสิทธิมนุษยชนอย่างเคร่งครัดและไม่สนับสนุนกิจการที่ละเมิดหลักสิทธิมนุษยชน โดยบริษัทจัดให้มีกระบวนการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence Process) ตลอดห่วงโซ่คุณค่าธุรกิจ
- บริษัทปฏิบัติต่อพนักงานทุกระดับอย่างเท่าเทียมตามหลักสิทธิมนุษยชน โดยไม่เลือกปฏิบัติในการจ้างงาน การจ่ายค่าตอบแทน การเข้ารับการอบรมและพัฒนา การแต่งตั้ง โอนย้าย การพิจารณาเลื่อนตำแหน่ง การเลิกจ้าง หรือการให้ออกจากงาน อันเนื่องมาจากการแบ่งแยกเพศ เพศสภาพ เชื้อชาติ สีผิว ศาสนา อายุ สถานภาพการสมรส ผู้มีครรภ์ ความคิดเห็นทางการเมือง หรือผู้พิการ เป็นต้น
- บริษัทเปิดโอกาสให้พนักงานทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันในการทำงาน มีสุขอนามัยและความปลอดภัย มีความเป็นส่วนตัว มีอิสระในการแสดงความคิดเห็น อิสระในการรวมกลุ่มและเจรจาต่อรองภายใต้กฎระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ และคำสั่งต่างๆ ของบริษัท
- บริษัทปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม เช่น ลูกค้า คู่ค้า ชุมชนและสังคม เป็นต้น อย่างเท่าเทียมไม่เลือกปฏิบัติ มีการเคารพสิทธิของลูกค้า อาทิ การปฏิบัติต่อลูกค้าอย่างเป็นธรรม ไม่ละเมิดข้อมูลส่วนตัวของลูกค้า มีการเคารพสิทธิของคู่ค้า อาทิ การปฏิบัติต่อคู่ค้าอย่างเป็นธรรม จัดให้มีการจัดซื้อจัดจ้างอย่างโปร่งใส สนับสนุนการปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนของคู่ค้าโดยส่งเสริมความร่วมมือในการดำเนินการตามจรรยาบรรณธุรกิจสำหรับคู่ค้าของบริษัท และมีการเคารพสิทธิชุมชน อาทิ การรับฟังความคิดเห็นและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชน
- บริษัทต่อต้านการละเมิดสิทธิมนุษยชนตลอดห่วงโซ่คุณค่าธุรกิจในทุกรูปแบบ ทั้งการเลือกปฏิบัติ การล่วงละเมิดทางเพศ และการล่วงละเมิดด้านอื่นๆ รวมถึงการใช้แรงงานผิดกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ การใช้แรงงานบังคับ และการใช้แรงงานเด็ก นอกจากนี้ ยังรับรองสิทธิในการเจรจาต่อรองร่วมกัน และเสรีภาพในการสมาคมสำหรับพนักงานทุกคน เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนในการดำเนินธุรกิจ
- บริษัทมีความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจภายใต้หลักสิทธิมนุษยชน ตลอดจนคาดหวังให้ผู้มีส่วนได้เสีย ในห่วงโซ่คุณค่าธุรกิจของบริษัท ดำเนินการตามหลักสิทธิมนุษยชนด้วย บริษัทจึงมีการส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ และการปฏิบัติตนในการเคารพสิทธิมนุษยชนให้กับพนักงาน และผู้มีส่วนได้เสีย เป็นระยะ อย่างเหมาะสม
- บริษัทมีการประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนทั้งในองค์กรและในห่วงโซ่คุณค่าธุรกิจ โดยให้ทุกหน่วยงานมีหน้าที่บริหารจัดการความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่แต่ละหน่วยงานรับผิดชอบอย่างสม่ำเสมอ และจัดให้มีกลไกการรับข้อร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแสที่เป็นระบบ สามารถแยกฐานข้อมูลความลับสำหรับผู้ร้องเรียนหรือผู้แจ้งเบาะแสด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยให้กับผู้ร้องเรียนหรือผู้แจ้งเบาะแสได้
- บริษัทมีกระบวนการดำเนินการเมื่อได้รับข้อร้องเรียนโดยระบุผู้รับผิดชอบและระยะเวลาการดำเนินการ มีมาตรการคุ้มครองความปลอดภัยให้กับผู้ร้องเรียนหรือผู้แจ้งเบาะแส มีการตรวจสอบ ติดตาม มีมาตรการลงโทษสำหรับผู้ละเมิดสิทธิมนุษยชน และมีมาตรการแก้ไขเยียวยาให้กับผู้ถูกละเมิด ภายใต้กฎหมาย หรือกฎระเบียบ ข้อบังคับ ของบริษัท
- บริษัทจัดให้มีการเปิดเผยผลการปฏิบัติงานด้านสิทธิมนุษยชนเป็นประจำทุกปี ผ่านรายงานประจำปี หรือรายงานความยั่งยืน เว็บไซต์ของบริษัท และช่องทางการสื่อสารอื่นๆ ตามความเหมาะสม
นโยบายความปลอดภัยและสุขอนามัย
บริษัทให้ความสำคัญสูงสุดต่อความปลอดภัยของผู้ใช้บริการ พนักงาน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกคน โดยบริษัทมุ่งมั่นที่จะพัฒนาระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และนำไปปฏิบัติ เพื่อ
- กำจัดอันตรายและลดความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่อาจเกิดขึ้นภายในพื้นที่รับผิดชอบของบริษัทให้อยู่ในระดับต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ และสอดคล้องกับกฎหมาย
- มั่นใจได้ว่ามาตรการป้องกัน และแก้ไขเพื่อควบคุมความเสี่ยงดังกล่าว ได้ถูกนำไปปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมถึงได้รับการปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
- จัดสภาวะแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัยเพื่อป้องกันการบาดเจ็บและเจ็บป่วยที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงาน
- ส่งเสริมและสนับสนุนให้พนักงานได้มีส่วนร่วมและให้ความเห็นในการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
- ให้ความรู้และสร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัยแก่ทุกคนที่เกี่ยวข้อง
นโยบายการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย
1. ขอบเขตของนโยบาย
นโยบายการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียครอบคลุมการดำเนินธุรกิจของบริษัทและบริษัทย่อยที่บริษัทมีอำนาจในการบริหารงาน โดยใช้กับกิจกรรมการดำเนินงานทั้งหมดต่อผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่คุณค่าธุรกิจ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบเชิงบวกและเชิงลบ ทั้งทางตรงและทางอ้อม จากการดำเนินธุรกิจของบริษัท รวมถึงผู้ที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานของบริษัท เช่น ลูกค้า สังคมและชุมชน คู่ค้า ผู้ถือหุ้น หรือหน่วยงานกำกับดูแลและภาครัฐ เป็นต้น
2. วัตถุประสงค์ของการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย
2.2 เพื่อกำหนดกลยุทธ์ในการตอบสนองความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย
2.4 เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทได้ส่งมอบการบริการที่ดีมีคุณภาพ
3. การกำหนดและการจัดลำดับความสำคัญของผู้มีส่วนได้เสีย
บริษัทกำหนดกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย โดยพิจารณาจากผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานของบริษัทในเชิงบวกและเชิงลบ ทั้งทางตรงและทางอ้อม และบริษัทได้จัดลำดับความสำคัญของแต่ละกลุ่มโดยพิจารณาจากขนาดความรุนแรงของผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากมากไปหาน้อย โดยกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียที่สำคัญ 3 ลำดับแรกของบริษัท ได้แก่ ลูกค้า พนักงาน สังคมและชุมชน
4. การสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย
บริษัทพิจารณาวิธีการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียตามความเหมาะสมของแต่ละกลุ่มโดยให้ความสำคัญตามลำดับที่บริษัทได้พิจารณาไว้ เช่น การสำรวจความพึงพอใจและความคาดหวังของลูกค้า การสำรวจความพึงพอใจและความผูกพันของพนักงาน การพบปะ พูดคุย และเยี่ยมเยียนชุมชนที่ได้ผลกระทบจากการดำเนินงานของบริษัท การเยี่ยมชมสถานประกอบการของคู่ค้า การรับข้อเสนอแนะและข้อร้องเรียนผ่านช่องทางต่างๆ ของบริษัท เป็นต้น เพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียสามารถแสดงความคิดเห็น และ/หรือความต้องการและความคาดหวังได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. การเพิ่มความสามารถในการมีสวนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย
บริษัทมีการประเมินความสามารถในการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย โดยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างหน่วยงานที่รับผิดชอบการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียของแต่ละกลุ่มอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำมาวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาความสามารถในการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย โดยบริษัทจัดให้มีช่องทางในการสื่อสารที่หลากหลาย เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง และการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี
6. การจัดการความเสี่ยงในการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย
บริษัทมีการบริหารจัดการความเสี่ยงสำหรับกระบวนการการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่มตามหลักการ โดยพิจารณาระบุความเสี่ยง ประเมินความเสี่ยง และกำหนดแนวทางการป้องกันหรือการจัดการความเสี่ยง เพื่อบรรเทาผลกระทบที่อาจจะเกิดจากการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียในแต่ละกลุ่มอย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับความเสี่ยงในการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียที่อาจถูกนำมาพิจารณา เช่น ความไม่เต็มใจในการเข้าร่วม ความเหนื่อยล้าในการเข้าร่วม หรือความขัดแย้งของกลุ่มผู้เข้าร่วม เป็นต้น ทั้งนี้ การมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียในแต่ละช่องทางหรือกิจกรรม บริษัทมีการกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และผลลัพธ์ที่คาดหวัง พร้อมทั้งสื่อสารให้ผู้มีส่วนได้เสียทราบ เพื่อความเข้าใจที่สอดคล้องกันด้วย
7. การสื่อสารและการรายงานผลการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย
บริษัทจัดให้มีช่องทางในการติดต่อสื่อสารกับผู้มีส่วนได้เสียในหลายๆ ช่องทางโดยมีช่องทางหลัก คือ ศูนย์บริการข้อมูล สำหรับการรายงานผลการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย จะมีการดำเนินการผ่านช่องทางการติดต่อสื่อสารกับผู้มีส่วนได้เสียในแต่ละกลุ่ม ทั้งนี้ บริษัทมีการรายงานผลการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียในภาพรวม ไปยังผู้บริหารระดับสูงและคณะกรรมการบริษัท หรือคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
8. การเปิดเผยข้อมูล
บริษัทจะเปิดเผยข้อมูลที่ครบถ้วน ถูกต้อง โปร่งใส ไม่คลุมเครือ และทั่วถึง เพื่อให้มั่นใจได้ว่าผู้มีส่วนได้เสียในแต่ละกลุ่มสามารถเข้าถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ได้ สำหรับการเปิดเผยข้อมูลที่สำคัญ เรื่องการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียจะมีการเปิดเผยผ่านรายงานประจำปี หรือรายงานความยั่งยืน เว็บไซต์บริษัท และช่องทางอื่นๆ ของบริษัท
ศูนย์บริการข้อมูลรถไฟฟ้า MRT
วันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 07.00-20.00 น.
วันเสาร์-อาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น.
BEM
- รู้จัก BEM
- เกี่ยวกับเรา
- เหตุการณ์สำคัญ
- ข้อมูลพื้นฐาน BEM
- ลักษณะการประกอบธุรกิจ
- สารจากประธานกรรมการบริษัท
- โครงสร้างองค์กร
- คณะกรรมการบริษัท
- คณะกรรมการตรวจสอบ
- คณะกรรมการสรรหาและกําหนดค่าตอบแทน
- คณะกรรมการบรรษัทภิบาล บริหารความเสี่ยง และการพัฒนาอย่างยั่งยืน
- คณะกรรมการบริหาร
- คณะผู้บริหาร
- การกํากับดูแลกิจการ
- คู่มือบรรษัทภิบาล
- วิสัยทัศน์และพันธกิจ
- เป้าหมายและกลยุทธ์ธุรกิจ
- นโยบายบริษัท
- กฎบัตรคณะกรรมการ
- ข้อบังคับบริษัท
- จรรยาบรรณบริษัท
- จรรยาบรรณนักลงทุนสัมพันธ์
- จรรยาบรรณธุรกิจสำหรับคู่ค้า
- ติดต่อเลขานุการบริษัท
- ศูนย์ข้อมูลส่วนบุคคล
- การแจ้งเตือนให้นําข้อมูลคอมพิวเตอร์ออกจากระบบ
- การพัฒนาอย่างยั่งยืน
ข่าวประชาสัมพันธ์
ร่วมธุรกิจกับ BEM
- พัฒนาเชิงพาณิชย์
- จัดซื้อจัดจ้าง
ร่วมงานกับ BEM
- ร่วมงานกับ BEM
สงวนลิขสิทธิ์ © พ.ศ.2561 บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
Member of , APTA and COMET
BANGKOK MRT
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
ตอบรับไลฟ์สไตล์คนเมืองด้วยแอปพลิเคชัน Bangkok MRT ทำให้วางแผนการเดินทางเป็นเรื่องง่ายแค่ปลายนิ้วสำหรับคุณ มีครบทั้งข้อมูลรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสายสีม่วง เช่น แผนที่เส้นทางรถไฟฟ้า แผนผังบริเวณสถานี สิ่งอำนวยความสะดวก ข่าวสารและกิจกรรม พร้อมทั้งฟังก์ชันต่างๆ ให้คุณเลือกใช้อีกเพียบ...